รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 มกราคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
คณะเภสัชฯ จุฬาฯ ชูผลงานวิจัยรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีมากจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช พร้อมเผยแพร่สมุนไพรสกัดจากแสมทะเลแก้ปัญหาผมร่วงได้อย่างถึงราก คาดจะออกสู่ตลาดภายในปีนี้!
“ผมร่วง ศีรษะล้าน” เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลและบั่นทอนความมั่นใจของหลายคน ยิ่งมีข้อมูลว่า 65 % ของปัญหานี้มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ยิ่งทำให้หลายคนรู้สึกหมดหวัง แต่ล่าสุด ทีมวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พบทางออกที่ทำให้ผู้มีปัญหาผมร่วงยิ้มได้ ด้วยผลงานวิจัย “ผลิตภัณฑ์แก้อาการผมร่วงชนิดแอนโดรจินิค-อโลเพเชียจากสารสกัดแสมทะเล” ที่ผ่านการทดสอบกับอาสาสมัครทั้งชายและหญิงกว่า 50 ชีวิตแล้วพบว่าได้ผลจริง
ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษางานวิจัยเล่ากระบวนการทดสอบและผลลัพธ์ของงานวิจัยว่า “เราถ่ายรูปศีรษะของอาสาสมัครทุกมุม รวมทั้งใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องบริเวณที่ผมหลุดร่วงเพื่อดูลักษณะการหลุดร่วงของเส้นผม และนัดหมายอีก 1 เดือน ถ่ายรูปในตำแหน่งเดิมเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง โดยทำอย่างนี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 4เดือน เราพบว่า เพียงแค่เดือนแรกที่ใช้สารสกัดแสมทะเล บริเวณศีรษะที่ล้านเริ่มมีผมดำแซมขึ้นจนปิดรอยที่เกิดจากการหลุดร่วง จำนวนผมที่หลุดร่วงเวลาสระผมลดลง เส้นผมแข็งแรง ยึดติดกับหนังศีรษะได้ดีขึ้น ที่สำคัญ ไม่ปรากฏว่าผู้ใช้สารสกัดแสมทะเลมีอาการแพ้แต่อย่างใด”
ศ.ดร.วันชัย เล่าที่มาของงานวิจัยว่ามาจากวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาเอกคณะเภสัชศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการหลุดร่วงของเส้นผม แล้วทีมวิจัยศึกษาต่อยอดด้วยการตรวจสอบว่ามีสารสกัดหรือสารบริสุทธิ์ที่เป็นธรรมชาติชนิดใดบ้างที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการผมร่วง
“เราคัดกรองสารสกัดสมุนไพรจำนวนกว่า 50 ชนิด และสารบริสุทธิ์จำนวนกว่า 20 ชนิด จนพบว่า สารสกัดจากแสมทะเลมีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ สาร avicequinone C ที่สามารถยับยั้งการทำงานของ เอ็มไซม์ที่สร้างฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วง นอกจากนี้ สารสกัดจากแสมทะเลยังช่วยในการสร้างโปรตีนที่เสริมการงอกของเส้นผมได้อีกด้วยจึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาอาการผมร่วงได้แบบครบวงจร”
ศ.ดร.วันชัย กล่าวว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางหลายชนิดที่อ้างสรรพคุณการรักษาอาการผมร่วง โดยมากประกอบด้วยยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอาการแพ้และผิวหนังอักเสบจนกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย นอกจากนี้ เกือบทั้งหมดยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลทางวิทยาศาสตร์หรือผ่านการวิจัยเพื่อหากลไกในการทำงานของสารที่นำมาใช้แต่อย่างใด
“ที่ผ่านมา เรานำเข้ายาสังเคราะห์จากต่างประเทศ ทั้งชนิดยาทาและยารับประทานซึ่งใชัได้ผลเพียง 30% และ48%ตามลำดับ ซ้ำยังมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ดังนั้นสารสกัดจากแสมทะเล ไม้ยืนต้นที่พบได้ในป่าชายเลนของไทยจะช่วยลดการนำเข้ายาสังเคราะห์เหล่านั้น และยังอาจเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างมูลค่าทางการตลาดให้ประเทศอีกด้วย” ศ.ดร.วันชัย กล่าว
ปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนซื้อลิขสิทธิ์ผลงานวิจัยชิ้นนี้ผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยจะทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวนมากอีกครั้ง ก่อนจะจะเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์และขอขึ้นทะเบียน อย. ต่อไป ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 6 เดือน ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดแสมทะเลจะเริ่มออกวางจำหน่ายในท้องตลาด
“ผมอยากเห็นผลิตภัณฑ์นี้พัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่มีอาการผมร่วง ศีรษะล้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข”
ศ.ดร.วันชัย กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า นอกจากงานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาผมร่วง ศีรษะล้านแล้ว ทีมกำลังวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผมหงอก ผมขาวด้วยสมุนไพรหรือสารสกัดที่สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ทำให้ผมดำได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วย
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้