อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

เสื้อครุยพระราชทาน

เสื้อครุยพระราชทาน

เสื้อครุยพระราชทาน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันเดียวที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบัน และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวประดับที่สำรดของชายครุยระดับอก ชาวจุฬาฯ ควรสวมเสื้อครุยด้วยความสำรวม เคารพในพระมหากรุณาธิคุณและภาคภูมิใจในเสื้อครุยพระราชทาน ไม่ต้องประดับสิ่งใดบนเสื้อครุยเพิ่มเติม

ลักษณะสำคัญของเสื้อครุยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ระยะระหว่างแถบหรือช่องไฟ และขนาดของแถบบนสำรด ซึ่งกำหนดเป็น ๒ ขนาดคือ ขนาดเล็กและใหญ่ มีระยะห่างกันอย่างประณีตตามแบบจิตรกรรมไทย แถบของสำรดของเสื้อครุยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น งามทั้งรูปแบบและองค์ประกอบของศิลปะไทย การจัดสีพื้นกับสีประจำคณะ สีของเส้นที่แสดงระดับของวุฒิคือ ปริญญาตรี ๑ เส้น ปริญญาโทและเอกใช้ ๒ และ ๓ เส้น ตามลำดับนั้นการให้สีและจัดองค์ประกอบงามสง่าอีกเช่นกัน

บูรพาจารย์และศิลปินในอดีตได้เลือกสักหลาดเป็นพื้นสำรดสีดำ สำหรับบัณฑิตและมหาบัณฑิต ระดับดุษฎีบัณฑิตใช้พื้นสำรดสีแดงชาด และใช้สีเหลืองสำหรับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก โดยการใช้สีดำเป็นการถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันเสาร์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีดำหรือน้ำเงินเข้มเป็นสีประจำพระองค์ การใช้สีแดงชาดเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร พระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สีชมพูเป็นสีประจำพระองค์ ใช้สีบานเย็นสำหรับกรมมหาดเล็กและโรงเรียนมหาดเล็ก ใช้สีแดงชาดสำหรับสีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำรัชกาล (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า) แต่ในชั้นหลังต่อมาใช้สีชมพู ส่วนการใช้สีเหลืองเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ และใช้กับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกเท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • เสื้อครุยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยแรกมีสองประเภท คือ ครุยบัณฑิตสำหรับนิสิตผู้สอบไล่ตามหลักสูตร กับครุยบัณฑิตพิเศษสำหรับอาจารย์ และผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นบัณฑิตพิเศษ
  • เสื้อครุยมี ๔ ชั้นคือ บัณฑิตชั้นตรี (บัณฑิต) บัณฑิตชั้นโท (มหาบัณฑิต) บัณฑิตชั้นเอก (ดุษฎีบัณฑิต) บัณฑิตชั้นพิเศษ ซึ่งบัณฑิตชั้นพิเศษนั้นมีพระองค์เดียวในแต่ละรัชกาลเพราะเป็นการอนุวัตการ ดำเนินการตามพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า “…ให้มีกรรมการเป็นสภาอันหนึ่งมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนนี้…”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า