รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
02:35
เพลง “เกียรติภูมิจุฬาฯ” นี้ เป็นการ แต่งขึ้นแบบทันทีทันใดไม่มีการวางโครงสร้างทางดนตรี และคำร้องมาก่อน เพื่อให้เสร็จทันกับคำอ้อนวอนของลูกศิษย์ในงานหนึ่ง โดยมีอาจารย์สังข์ อสัตถวาสี และอาจารย์ระพินทร บรรจงศิลป เป็นผู้ช่วยในการให้ทำนอง
03:03
เพลง “ขวัญใจจุฬาฯ” นี้ มีลักษณะเพลงคล้ายคลึงกันกับเพลง “ดาวจุฬาฯ” ทั้งด้านเนื้อหา และท่วงทำนอง ซึ่งมีความไพเราะ และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเต้นรำ
เพลง “จามจุรีเกมส์” เป็นเพลงประจำของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (19-26 พฤศจิกายน 2536) โดยอาจารย์ที่ดูแลวงซียูแบนด์ และซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาฯ มีความคิดว่า ควรจะแต่งเพลงประจำการแข่งขัน โดยเฉพาะเพราะถ้าวงดนตรีจุฬาฯ สามารถบรรเลงได้ก็ จะเป็นจุดที่แปลก และน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่สามารถนำวงออร์เคสตรา ที่มีสมาชิกจำนวน 100 คน และเครื่องดนตรีอีกนับร้อยชิ้นมาร่วมบรรเลงในพิธีเปิดได้
03:22
เพลงนี้ คุณปิยะ รณรื่น ประพันธ์คำร้อง และทำนองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อครั้งยังเป็นนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปี ที่ ๒ คุณปิยะเป็นนิสิตผู้หนึ่งที่มีความสนใจทางด้านดนตรีที่มีมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา และได้ทดลองแต่งเพลงไว้มากมาย เมื่อได้เข้ามาศึกษา ที่จุฬาฯ ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมดนตรีสากลสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ส.จ.ม.) ในฐานะนักร้อง ในช่วงเวลานั้น จึงได้เริ่มแต่งเพลงประจำสถาบันขึ้น เพื่อใช้บรรเลงและขับร้องในหมู่นักดนตรีของสโมสรฯ
04:55
บทเพลงนี้สะท้อนความเป็นไปในการดำเนินชีวิตนักศึกษาได้เป็นอย่างดียิ่งจากการที่ชาวจุฬาฯ ถือเอาจามจุรีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และด้วยวัฏจักรของต้นจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ
02:54
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เพลงนี้ทั้งคำร้องและทำนองให้องค์การนิสิตจุฬาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2492 และบันทึกเสียงโดยวงดนตรีกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาวง C.U. BAND แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำออกบรรเลงในวันประกาศเกียรติคุณมอบรางวัลพระเกี้ยวทองคำในปี พ.ศ. 2496
05:24
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๐ – พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งสำคัญ วิถีชีวิตและความบันเทิงในรูปแบบของชาวตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่การดำเนินชีวิตของสังคมชาวเมือง การเต้นรำนับเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความบันเทิง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในสโมสรต่างๆ ในพระนคร ในระยะนั้น วงดนตรีสุนทราภรณ์ของครูเอื้อ สุนทรสนาน จะเป็นผู้บรรเลงดนตรีสำหรับการเต้นรำบอลรูมทั่วไป รวมทั้งงานประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย เพลง “ดาวจุฬาฯ” นี้ได้กล่าวถึงสุภาพสตรีที่มีความเด่นปรากฎในสังคมยุคนั้น ในขณะที่สุภาพสตรีที่มีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยก็มีปรากฏเป็นจำนวนน้อย อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนอยู่เพียงไม่กี่แห่ง นิสิตหญิงที่ศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ จึงมีความเด่นไปด้วยในสังคม
02:03
เพลง “เดิน” ซึ่งในปัจจุบันเรียกกันทั่วไปว่าเพลง “เดินจุฬาฯ” แต่เดิมเรียกชื่อเพลงคำเดียวว่า “เดิน” แต่งคำร้อง โดย ม.ล.จิตสาร ชุมสาย ณ อยุธยา โดยอาศัยทำนองเพลงพื้นเมืองอเมริกัน ที่ให้จังหวะมาร์ชสนุกสนาน และเป็นที่ครึกครื้น ในสมัยก่อนเมื่อถึงเทศกาลกีฬาฟุตบอลประเพณี นิสิตจุฬาฯ จะใช้เพลง “เดิน” เป็นเพลงเรียกกำลัง ซึ่งจะร้องรำทำเพลงในระหว่างที่กำลังเดินทางไปแข่งกีฬาฯ
04:58
เนื้อร้อง: ราตรีงดงามด้วยดาวส่องฟ้า ประดับนภาและคอยบอกทาง จุฬาฯ ของเราช่วยเราทุกอย่าง เป็นแสงนำทางให้ตลอดมา วันคืนรื่นรมย์ร่มจามจุรี ยังจำได้ดีพระคุณจุฬาฯ คอยเจียระไนให้สิ่งล้ำค่า เป็นเพชรจุฬาฯอยู่กลางหัวใจ ประกายแห่งเพชร ประกายศักดิ์ศรี ส่องทางวันนี้ไปยังพรุ่งนี้และวันต่อไป ประกายแห่งเพชร สาดแสงยิ่งใหญ่ ประกายสุขใสในใจแห่งเพชรชมพูจุฬาฯ อันเชิญเพชรงามให้ความสดใสสาดส่องหัวใจผองชาวจุฬาฯ เป็นแรงให้เราก้าวไปข้างหน้า รับใช้ประชาแห่งดินแดนไทย ประกายสุกใสในใจแห่งเพชรชมพูจุฬาฯ
05:01
เมื่อทางสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำโครงการบันทึกเสียงเพลงของจุฬาฯ ขึ้นใหม่จึงได้มอบหมายคุณไกวัลนำบทเพลงน้ำใจ – สามัคคีมาร่วมบันทึกไว้ด้วยในฐานะบทเพลงจุฬาฯ รุ่นใหม่ คุณไกวัลได้ตั้งใจที่จะผลิตผลงานขึ้นใหม่สำหรับการบันทึกเสียงครั้งนี้โดยนำเค้าโครงและความประทับใจจากเพลงน้ำใจ-สามัคคี มาแต่งขยายและเรียบเรียงเป็นเพลงไมตรีโดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสามัคคี กลมเกลียว และความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างอาจารย์ นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป
03:59
เพลง “ร่มจามจุรี” คาดว่า แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2523 ด้วยเงื่อนไขของเวลาและความพลัดพรากอันเป็นสัจธรรม เนื้อหาและทำนองของบทเพลงจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อาลัยอาวรณ์ แสนเสียดาย ที่จะต้องจากสถานศึกษา ซึ่งอุดมไปด้วยมิตรภาพ ความรัก และความผูกพัน บทเพลงทำให้นึกถึงภาพบรรยากาศภายในรั้วจุฬาฯ ที่ร่วมสานสายใยระหว่างพี่น้องและเพื่อนใต้ร่มจามจุรี จนกระทั่งกลายมาเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างลูกจุฬาฯ ที่สืบทอดต่อกันมาอย่างไม่มีวันขาดสาย
03:11
ในช่วงปี พ.ศ. 2483 ครูเอื้อนำวงดนตรีมาบรรเลงเป็นประจำทุกปีในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และในช่วงนั้นเองเป็นช่วงที่นิสิตที่ครูเอื้อ และครูแก้วสนิทสนมด้วยถูกรีไทร์จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จึงได้ร่วมกันแต่งเพลงนี้ขึ้นแสดงในรายการ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวงสุนทราภรณ์ เพื่อเป็นการอำลาอาลัยจากสถาบันที่รักแห่งนี้
02:28
เพลงนี้ประพันธ์โดย รศ.สดใส พันธุมโกมล เมื่อครั้งที่อาจารย์ศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 ในครั้งนั้นอาจารย์ดำรงตำแหน่งนายกชุมนุมดนตรี (ชมรมดนตรีสากล C.U.BAND ในปัจจุบัน) นับเป็นนายกชุมนุมดนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของจุฬาฯ อาจารย์เป็นผู้รับผิดชอบการแสดงในส่วนของดนตรี อาจารย์จึงได้แต่งเพลง “C.U.POLKA” ขึ้น เพื่อเป็นเพลงเอกในการแสดงดนตรีประกอบการเต้นรำเป็นชุด MUSICAL NUMBER
เนื้อร้อง: จุฬาฯ ของเรา งานเสลาสล้าง ประเทืองเบื้องฟ้าเวทางค์ งามไม่จางงามไม่สร่างสลัว จุฬาฯ ของเรา งามกว่าเขาไปทั่ว งามศักดิ์สถาบันตัว ดังดอกบัวบานเบิกหัวใจเรา วิศวกรรม สร้างทำคิดทำกันเข้า เรียนรู้ชูเชาว์ เพียรเร่งเพียรเร้าเพื่อเอาปริญญา อักษรศาสตร์คนสวย ชื่นชวยสำรวยเริงร่า งามล้ำตำราขลังกว่าคาถา จะสาธยายร่ายมนต์ หญิงพัวชายพัน สื่อกันสานกันเข้มข้น สื่อสารมวลชน คงจะมีผลข้นเข้มเต็มที อ้าสถาปัตยกรรม ความรู้งามล้ำจนลอยรี่ จะว่าให้ดี งานศิลปินี่โอฬาร์ นักการบัญชี ท่าทีล้วนมีสง่า พาณิชย์จุฬาฯ ใครว่าโสภาอย่าทำตามัว ถึงเหล่าครุ ผู้คนสาธุกันทั่ว ไปไหนใครกลัวเหมือนว่าเป็นขรัว อยู่รั้ววัดวาร่ำไป หมอไทยใจดี ชีพมีพร้อมพลีคนไข้ เรียนไว้เพียรไป ชาวแพทย์ศาสตร์ไซร้ไม่เคยประวิง แพทย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่วายรักษาสัตย์ยิ่ง เรารักงานจริงทั้งชายทั้งหญิง ไม่ทิ้งงานแพทย์สัตว์ไป นักการงานเมือง ประเทืองรัฐเรืองเมืองใหม่ งามทั้งเมืองไทย รัฐศาสตร์ไซร้นั่นชาวจุฬาฯ สดชื่อไฉไลไทยเมธี งามสมศักดิ์ศรีมีสง่า งามศักดิ์สัจจา ชาววิทยาศาสตร์ภูมิใจ นักการคำนวณ คู่ควรนั้นเศรษฐศาสตร์ ช่างคิดช่วยรัฐ ประหยัดอัตราราคาเงินไทย แม้นเจ็บปวดฟัน ทันตแพทย์นั้นบำบัดให้ โยกถอนคลอนไปทันตแพทย์ไซร้ ว่องไวตั้งใจช่วยทำ นักการธรรมนูญ เพิ่มพูนนั้นนิติศาสตร์ กฎหมายเก่งกาจ ดวงจิตสะอาดมั่นคงทรงธรรม เรื่องยานั้นชาวเภสัชศาสตร์ รอบรู้เปรื่องปราดด้วยเรียนร่ำ ตั้งใจฝึกฝน คิดค้นประจำมุ่งทำไป เราต่างมีศักดิ์ศรีดีเด่น ไปที่ไหนใครเห็นฤาเว้นพาใจวาบไหว อ๋อ ชาวจุฬาฯ โสภาพิไล เพราะได้อาศัยในรั้วของธรรมจรรยา เราอยู่ในสถาบันใหญ่ เราต้องรักกันไว้ใจน้องคล้องใจพี่หนา รักเราปักใจคล้ายรอยเหมือนตรา พระเกี้ยวงามฟ้าพราวโพ้นทิวาราตรี
02:52
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 อันเป็นปีสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นต้นมา นิสิตจุฬาฯ มีเพลงร้องภายในมหาวิทยาลัยมากมาย แต่ทว่าเพลงซึ่งประกาศว่าเป็นเพลงประจำสถาบันอันเป็นที่หมายรู้กันนั้นยังไม่ปรากฏ ในปี พ.ศ. 2491 ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนายสุภร ผลชีวินเป็นผู้ประพันธ์คำร้อง
03:29
เพลงนี้ ศาสตราจารย์วิกรม เมาลานนท์ ประพันธ์คำร้องและทำนอง เมื่อปี พ.ศ. 2510 ท่านเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา กฎหมายแก่นิสิต คณะต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น และเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านอาจารย์วิกรมเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแต่งเพลงเป็นอย่างยิ่ง
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้