บริจาคให้จุฬาฯ

เหตุผลที่...ทำไมต้องบริจาคให้จุฬาฯ

ท่านสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสังคมได้

เหตุผลที่...ทำไมต้องบริจาคให้จุฬาฯ

เหตุผลที่...ทำไมต้องบริจาคให้จุฬาฯ

ท่านสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสังคมได้

เหตุผลที่...ทำไมต้องบริจาคให้จุฬาฯ

กว่า 100 ปีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์ความรู้ ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดีและคนเก่งสู่สังคม ในก้าวต่อไปสู่ศตวรรษใหม่นี้ เรามุ่งมั่น “คิดและทำเพื่อสังคม” ตามหลักการ “สร้างคน สร้างเสริมสังคมไทย สร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรม และก้าวไกลในสังคมโลก”

อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งชาตินี้ไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัยในระดับที่ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลนั้น ต้องอาศัยปัจจัยด้าน “ทุนทรัพย์” ที่จะส่งเสริมให้ปณิธานความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จได้ เราจึงจำเป็นต้องระดมเงินทุนบริจาคจากทั้งคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต ศิษย์เก่า และประชาชนไทย … และ “คุณ” สามารถช่วยสมทบทุนบริจาคให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผ่านกองทุนเหล่านี้

สิ่งที่คุณได้ตอบแทนจากการบริจาคเงินให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ

  • คุณสามารถนำยอดเงินที่บริจาคให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ยกเว้น โครงการอุทยาน 100 ปี ที่หักลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า
  • ทุกบาททุกสตางค์ที่คุณบริจาคจะสมทบทุนเข้าโครงการจุฬาฯ 100 ปี
  • คุณเป็นหนึ่งในผู้มอบโอกาสทางการศึกษาที่ดีแก่นิสิต นักวิจัย และร่วมพัฒนาความเป็นผู้นำเพื่อนำพาประเทศไทยความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมสังคมโลก
  • คุณคือผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ก้าวใหม่ของจุฬาฯ 100 ปี

ทุนจุฬาฯ-ชนบทได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่นิสิตมากกว่า 3,000 คน ในหลากหลายสาขา มานานกว่า 35 ปี ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสทำงานรับใช้สังคม ภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน”

กองทุนที่เปิดรับบริจาค

กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

  • เพื่อเป็นทุนการศึกษา
  • เพื่อพัฒนาวิชาการ
  • เพื่อพัฒนางานวิจัย
  • เพื่อจุฬา 100 ปี

กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ (CU Cancer Immunotherapy Fund) ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

โครงการอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านสามารถมีส่วนร่วมพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสังคมได้

กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในวโรกาสวันพระบรมราชสมภพครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพุทธศักราช 2546 และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพ” และทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี และเพื่อเป็นการสืบสานพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช โดยกองทุนดังกล่าวได้ถูกจัดสรรนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่

  • เพื่อเป็นทุนการศึกษา
  • เพื่อพัฒนาวิชาการ
  • เพื่อพัฒนางานวิจัย
  • เพื่อจุฬา 100 ปี

การดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา

ทุนจุฬาฯ ดุษฎีพิพรรธน์

เป็นทุนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้มีขึ้น เนื่องในวาระครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2550 โดยใช้ทุนสนับสนุนจากกกองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ เพื่อส่งเสริมการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกที่มีความรู้ ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยศึกษาและวิจัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหลัก และมีโอกาสไปเพิ่มพูนประสบการณ์ในสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่อจะได้บัณฑิตที่มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ

โครงการปรับปรุงหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2557

การบูรณะปรับปรุงหอประชุมครั้งนั้น ได้ใช้เงินบริจาคจากกองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯในส่วนของจุฬา 100 ปี ด้วยความร่วมมือจากคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สำรวจความเสียหาย และออกแบบเพื่อปรับปรุงอาคารหอประชุม อาทิ การปรับปรุงด้านสถาปัตยกรรมโครงสร้างอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบเสียง ระบบแสงสว่าง ระบบสุขาภิบาล และระบบภูมิทัศน์โดยรอบ บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อความกลมกลืนและให้เกิดความสง่างาม เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ให้สมกับที่เป็นสถานที่สำคัญในการหล่อหลอมชีวิตนิสิตที่สมบูรณ์ นับตั้งแต่ก้าวแรกของการเป็นนิสิต จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา

สแกน QR Code เพื่อบริจาคให้กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนการศึกษา

สแกน QR Code เพื่อบริจาคให้กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวิชาการ

สแกน QR Code เพื่อบริจาคให้กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนางานวิจัย

สแกน QR Code เพื่อบริจาคให้กองทุนจุฬาลงกรณ์บรมราชสมภพฯ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามวัตถุประสงค์ เพื่อจุฬา 100 ปี

กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ (CU Cancer Immunotherapy Fund) ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนงานวิจัยด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เพื่อลดการนำเข้ายาและเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง เพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างทั่วถึง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เป็นโครงการเพื่อความเป็นเลิศของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศโรคมะเร็งครบวงจร และศูนย์ความเป็นเลิศเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและกลับมากำจัดเซลล์มะเร็งได้ตามธรรมชาติ รวมไปถึงออกแบบวัคซีนเฉพาะของแต่ละบุคคล เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้องตรงจุดที่สุด

Facebook กองทุนฯ

สแกน QR Code เพื่อบริจาคให้กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ (CU Cancer Immunotherapy Fund) ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ผ่านระบบบริจาคอิเล็คทรอนิกส์ (ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม)

โครงการอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณรู้หรือไม่?

อุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายจากอันเกิดจากค่าสาธารณูปโภคและค่าบริหารจัดการ เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาททุกเดือน แต่อุทยานแห่งนี้กลับมีรายรับเพียง 1 ใน 10 ของค่าใช้จ่ายเท่านั้น ซึ่งมาจากค่าบำรุงสถานที่เมื่อองค์กรภายนอกมาขออนุญาตใช้สถานที่ทำกิจกรรม ทำให้ทุกๆ เดือน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องปันรายได้จากการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อมาเป็นค่าบำรุงรักษาอุทยานแห่งนี้ให้ยังคงสภาพสมบูรณ์ และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการทุกคน

ตั้งแต่วันแรกที่เปิดอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันนี้ ป่ากลางกรุง 28 ไร่กลางเขตสวนหลวง – สามย่านแห่งนี้ได้ทำประโยชน์ต่อสังคมมากมาย

  1. เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์ สวนซึมน้ำ บ่อหน่วงน้ำ ช่วยชะลอน้ำฝนก่อนระบายออกสู่สาธารณะ ป้องกันไม่ให้น้ำท่วมชุมชนเมื่อฝนตกหนัก
  2. เป็นเครื่องฟอกอากาศที่ผลิตอากาศบริสุทธิ์แก่คนไทย โดยต้นไม้ที่โตเต็มที่ 1 ต้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 21.8 กิโลกรัม/ปี และ ปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่อากาศประมาณ 118 กิโลกรัม/ปี มีออกซิเจนปริมาณที่เพียงพอสำหรับคน 2 คน
  3. เป็นห้องเรียนธรรมชาติกลางแจ้งสำหรับทุกคน ด้วย 8 ห้องเรียน ได้แก่ Herb room, Vine room, Forest room, Stone room, Sand room, Earth room, Bamboo room และ Gravel room เป็นต้น
  4. เป็นภูมิปัญญาของสังคม ทุกคนสามารถมาศึกษาดูงานโครงสร้างพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ของสวนที่สามารถคว้ารางวัลระดับโลก (WLA Awards 2019) และศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้จากห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิภลอดุลยเดช
  5. เป็นพื้นสาธารณประโยชน์ที่ส่งเสริมให้ทุกคนมาออกกำลังกาย และทำกิจกรรมนันทนาการกับครอบครัว เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น
  6. เป็นที่รวมใจของชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น โครงการเดินวิ่งการกุศล โครงการปั่นจักรยานย่านเมืองรอง โครงการแสดงดนตรีในสวน โครงการสร้างสุข สุขภาพดี กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมโชว์ผลงานของนิสิต เป็นต้น

และเป็น “ของขวัญอันยิ่งใหญ่” ที่คุณและจุฬาฯ มอบให้แก่สังคม ขอเชิญทุกท่านร่วมกัน “รักษ์อุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ด้วยการชักชวนครอบครัว เพื่อน คนรัก ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนบำรุงรักษาอุทยานแห่งนี้กับคุณ เพื่อให้เงินส่วนนี้ได้สร้างความสุข และสุขภาพดีแก่คุณ ชุมชน และสังคมไทยต่อไป

สแกน QR Code เพื่อบริจาคสมทบทุนสร้างอุทยานจุฬาฯ 100 ปี ผ่านระบบบริจาคอิเล็คทรอนิกส์ (ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม)

ช่องทางการบริจาค

ท่านสามารถบริจาคเงินให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้

ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (สะดวกที่สุด)

ท่านสามารถ สแกน QR Code บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนเข้ากองทุนต่างๆ ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และข้อมูลบริจาคยังถูกจัดเก็บเข้ากองบริหารการเสียภาษีของกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ (กรณีเป็นสมาชิกหรือเคยยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต)

QR CODE กองทุนต่างๆ

ช่องทางอื่นๆ

  • เงินสด (นำฝากเข้าบัญชีธนาคาร)
  • โอนผ่านระบบบัวหลวง iBanking (ธนาคารกรุงเทพ)
  • บัตรเครดิต / บัตรเดบิต
  • เช็คขีดคร่อม สั่งจ่าย “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เพื่อรับเงินบริจาค)”

เริ่มต้นบริจาค

ติดต่อเกี่ยวกับการบริจาค

หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการบริจาคเงินให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาติดต่อ

ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารจามจุรี 2 ชั้น 1 เลขที่ 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ 0-2218-3359 - 60 / 0-2218-3370
โทรสาร 02-218-3360
อีเมล CUAR@CHULA.ACTH
Facebook www.facebook.com/alumni.cu
Line CUAR.CHULA

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า