คณะวิศวกรรมศาสตร์

Faculty of Engineering

สถาบันสร้างวิศวกรและนวัตกรรมที่เป็นเลิศสำหรับสังคมโลก

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

Faculty of Engineering

สถาบันสร้างวิศวกรและนวัตกรรมที่เป็นเลิศสำหรับสังคมโลก

รู้จักคณะ

โรงเรียนวิศวกรรมแห่งแรกและอันดับหนึ่งของประเทศไทย และอันดับต้นๆ ของเอเชีย* มุ่งสร้างวิศวกรที่มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานในระดับนานาชาติ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งสังกัดภาควิชาต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโลหการ  วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ฯลฯ รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติหลายหลักสูตร เช่น Nano Engineering และ Aerospace Engineering ในระดับปริญญาตรีด้วย

การศึกษาและหลักสูตร

ภาควิชาและหน่วยงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ประกอบด้วย 12 ภาควิชา ดังนี้

  1. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
  2. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
  3. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
  4. วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
  5. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
  6. วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม (Mining and Petroleum Engineering)
  7. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
  8. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
  9. วิศวกรรมโลหการ (Metallurgical Engineering)
  10. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
  11. วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineering)
  12. วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resources Engineering)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน ดังนี้

  1. สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ
  2. ศูนย์ระดับภูมิภาคทางวิศวกรรมระบบการผลิต
  3. หน่วยบูรณาการศาสตร์ด้านวิศวกรรม

หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) มี 17 สาขาวิชา ประกอบด้วย

  1. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
  2. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
  3. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
  4. วิศวกรรมเรือ (Naval Architecture and Marine Engineering)
  5. วิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Engineering)
  6. วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
  7. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
  8. วิศวกรรมทรัพยากรธรณี (Georesources Engineering)
  9. วิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineering)
  10. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
  11. วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
  12. วิศวกรรมโลหการและวัสดุ (Metallurgical and Materials Engineering)
  13. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
  14. วิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) (Nano-Engineering)
  15. วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ) (Automotive Design and Manufacturing Engineering)
  16. วิศวกรรมอากาศยาน (หลักสูตรนานาชาติ) (Aerospace Engineering)
  17. วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) (Information and Communication Engineering)

หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ

1. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering (M.Eng.) 15 สาขาวิชา ประกอบด้วย

  • 1.1 วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
  • 1.2 วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
  • 1.3 วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
  • 1.4 วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
  • 1.5 วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
  • 1.6 วิศวกรรมทรัพยากรธรณีและปิโตรเลียม (หลักสูตรนานาชาติ) (Georesources and Petroleum Engineering)
  • 1.7 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
  • 1.8 วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
  • 1.9 วิศวกรรมโลหการและวัสดุ (Metallurgical and Materials Engineering)
  • 1.10 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
  • 1.11 วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineering)
  • 1.12 วิศวกรรมแหล่งน้ำ(Water Resources Engineering)
  • 1.13 การจัดการทางวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (Engineering Management)
  • 1.14 วิศวกรรมชีวเวช (หลักสูตรสหสาขาวิชา) (Biomedical Engineering)
  • 1.15 วิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ (Defense and Engineering Technology)

2. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Master of Science (M.Sc.) 5 สาขาวิชา ประกอบด้วย

  • 2.1 วิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  • 2.2 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • 2.3 เทคโนโลยีนิวเคลียร์ (Nuclear Technology)
  • 2.4 วิศวกรรมชีวเวช (หลักสูตรสหสาขาวิชา) (Biomedical Engineering)
  • 2.5 ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม (Spatial Information System in Engineering) *

หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ

1. วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 11 สาขาวิชา ประกอบด้วย

  • 1.1 วิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) (Civil Engineering)
  • 1.2 วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
  • 1.3 วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
  • 1.4 วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
  • 1.5 วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering) **
  • 1.6 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
  • 1.7 วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
  • 1.8 วิศวกรรมโลหการและวัสดุ (Metallurgical and Materials Engineering) **
  • 1.9 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
  • 1.10 วิศวกรรมนิวเคลียร์ (Nuclear Engineering) **
  • 1.11 วิศวกรรมแหล่งน้ำ(Water Resources Engineering) **

2. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 1 สาขาวิชา ประกอบด้วย

  • 2.1 วิศวกรรมชีวเวช (หลักสูตรสหสาขาวิชา) (Biomedical Engineering)

หมายเหตุ

  • * สาขาวิชาระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม จะปิดหลักสูตรตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
  • ** หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมโลหการและวัสดุ วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมนิวเคลียร์ ใช้ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษว่า Doctor of Engineering (D.Eng.)

ติดต่อคณะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า