คณะวิทยาศาสตร์

Faculty of Science

แหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแผ่นดิน ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

Faculty of Science

แหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแผ่นดิน ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

รู้จักคณะ

คณะวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งของประเทศ* มุ่งมั่นผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณธรรม ความเชี่ยวชาญ และมีเอกลักษณ์พร้อมศักยภาพเพื่อการแข่งขันบนเวทีวิชาการและอุตสาหกรรมในระดับโลก เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งสังกัดภาควิชาต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์ภาพถ่าย เทคโนโลยีทางอาหาร ธรณีวิทยา ฯลฯ  รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ Applied Chemistry ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร Petroleum Geoscience กับ Food Science and Technology ในระดับปริญญาโท และหลักสูตร Agricultural Technology ในระดับปริญญาเอกด้วย

*จัดอันดับโดย The QS World University Rankings ประจำปี พ.ศ. 2560 เฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

การศึกษาและหลักสูตร

ภาควิชาของคณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)

คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 14 ภาควิชา ได้แก่

  1. คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Mathematics and Computer Science)
  2. เคมี (Chemistry)
  3. ชีววิทยา (Biology)
  4. ฟิสิกส์ (Physics)
  5. พฤกษศาสตร์ (Botany)
  6. เคมีเทคนิค (Chemical Technology)
  7. ธรณีวิทยา (Geology)
  8. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Enviromental Science)
  9. วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)
  10. ชีวเคมี (Biochemistry)
  11. วัสดุศาสตร์ (Material Science)
  12. จุลชีววิทยา (Microbiology)
  13. วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและ เทคโนโลยีทางการพิมพ์ (Photographic Science and Printing Technology)
  14. เทคโนโลยีทางอาหาร (Food Technology)

หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science (B.Sc.) 19 สาขาวิชาได้แก่

  1. คณิตศาสตร์ (Mathematics)
  2. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  3. เคมี (Chemistry)
  4. เคมีประยุกต์ (นานาชาติ) (Applied Chemistry)
  5. ชีววิทยา (Biology)
  6. สัตววิทยา (Zoology)
  7. ฟิสิกส์ (Physics)
  8. พฤกษศาสตร์ (Botany)
  9. พันธุศาสตร์ (Genetics)
  10. เคมีวิศวกรรม (Chemical Engineering)
  11. ธรณีวิทยา (Geology)
  12. วิทยาศาสตร์ทั่วไป (General Science)
  13. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science)
  14. วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)
  15. ชีวเคมี (Biochemistry)
  16. วัสดุศาสตร์ (Materials Science)
  17. จุลชีววิทยา (Microbiology)
  18. เทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ (Imaging and Printing Technology)
  19. เทคโนโลยีทางอาหาร (Food Technology)

หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Master of Science (M.Sc.) 25 สาขาวิชา ได้แก่

  1. คณิตศาสตร์ (Mathematics)
  2. คณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา (Applied Mathematics and Computational Science)
  3. วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาษาอังกฤษ) (Computer Science and Information Technology)
  4. เคมี (Chemistry)
  5. สัตววิทยา (Zoology)
  6. ฟิสิกส์ (Physics)
  7. พฤกษศาสตร์ (Botany)
  8. พันธุศาสตร์ (Genetics)
  9. เคมีเทคนิค (Chemical Technology)
  10. เทคโนโลยีเชื้อเพลิง (Fuel Technology)
  11. ธรณีวิทยา (Geology)
  12. โลกศาสตร์ (Earth Sciences)
  13. วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)
  14. ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล (Biochemistry and Molecular Biology)
  15. เทคโนโลยีเซรามิก (Ceramic Technology)
  16. วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ (Applied Polymer Science and Textile Technology)
  17. จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ (Microbiology and Microbial Technology)
  18. เทคโนโลยีทางภาพ (Imaging Technology)
  19. เทคโนโลยีทางอาหาร (Food Technology)
  20. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร (นานาชาติ) (Food Science and Technology)
  21. ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์** (Petrochemistry and Polymer Science)
  22. เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ *** (Pulp and Paper Technology)
  23. เทคโนโลยีชีวภาพ **** (Biotechnology)
  24. มาตรวิทยา ***** (Metrological Science)
  25. ธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม (นานาชาติ) (Petroleum Geoscience)

หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 20 สาขาวิชา ได้แก่

  1. คณิตศาสตร์ (Mathematics)
  2. คณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา (Applied Mathematics and Computational Science)
  3. วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาษาอังกฤษ)(Computer Science and Information Technology)
  4. เคมี (Chemistry)
  5. สัตววิทยา (Zoology)
  6. ฟิสิกส์ (Physics)
  7. พฤกษศาสตร์ (Botany)
  8. เคมีเทคนิค (Chemical Technology)
  9. ธรณีวิทยา (Geology)
  10. วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)
  11. ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล (Biochemistry and Molecular Biology)
  12. วัสดุศาสตร์ (Materials Science)
  13. จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ (Microbiology and Microbial Technology)
  14. เทคโนโลยีทางภาพ (Imaging Technology)
  15. เทคโนโลยีทางอาหาร (Food Technology)
  16. วิทยาศาสตร์มหโมเลกุล* (Macromolecular Science)
  17. ปิโตรเคมี* (Petrochemistry)
  18. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ****** (Biological Sciences)
  19. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  20. เทคโนโลยีการเกษตร (นานาชาติ) ******* (Agricultural Technology)

หมายเหตุ

  • * สาขาวิชาวิทยาศาสตร์มหโมเลกุล และสาขาวิชาปิโตรเคมี ระดับปริญญาเอก มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาเคมี เคมีเทคนิค ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์
  • ** สาขาวิชาปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ระดับปริญญาโทเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาเคมี เคมีเทคนิค ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายฯ
  • *** สาขาวิชาเทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ ระดับปริญญาโทเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายฯ ภาควิชาเคมีเทคนิค และภาควิชาพฤกษศาสตร์
  • **** สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับปริญญาโทเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 8 ภาควิชา คือ ภาควิชาเคมี เคมีเทคนิค จุลชีววิทยา ชีววิทยา เทคโนโลยีทางอาหาร ชีวเคมี พฤกษศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งนี้ได้แก้ไขชื่อ (จากเดิม เทคโนโลยีทางชีวภาพ) เมื่อปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2542
  • ***** สาขาวิชามาตรวิทยา ระดับปริญญาโทเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาฟิสิกส์ เคมี วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป และธรณีวิทยา
  • ****** สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับปริญญาเอกเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาชีววิทยา ชีวเคมี และพฤกษศาสตร์
  • ******* สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ระดับปริญญาเอกเป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกันระหว่าง 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาชีววิทยา พฤกษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล และจุลชีววิทยา

หน่วยบริการสังคม

ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร

บริการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างฉับไวและได้มาตรฐาน ด้วยครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และทีมงานและผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาต่างๆ ของคณะวิทยาศาตร์และจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารมหามกุฏ ชั้น 16
โทรศัพท์ 0 2218 7653 – 4
อีเมล cufdtest@yahoo.com
เว็บไซต์ www.sc.chula.ac.th/frtl

ติดต่อคณะ

คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์
0 2218 5000

เว็บไซต์
web.sc.chula.ac.th

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า