คณะสัตวแพทยศาสตร์

Faculty of Veterinary Science

สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสัตวแพทย์ เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์

Faculty of Veterinary Science

สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสัตวแพทย์ เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

รู้จักคณะ

โรงเรียนสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ให้บริการแก่สังคมทั้งด้านการรักษาและการป้องกันโรคสัตว์  การเพิ่มผลผลิตสัตว์ และการสัตวแพทย์สาธารณสุข เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ  อาทิ พยาธิชีวิวิทยาทางสัตวแพทย์ วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ สัตวแพทย์สาธารณสุข ฯลฯ รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิกด้วย

การศึกษาและหลักสูตร

ภาควิชาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ (Faculty of Veterinary Science)

ประกอบด้วย 10 ภาควิชา ได้แก่

  1. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
  2. ภาควิชาสรีรวิทยา (Physiology)
  3. ภาควิชาสัตวบาล  (Animal Husbandry)
  4. ภาควิชาเภสัชวิทยา (Pharmacology)
  5. ภาควิชาพยาธิวิทยา (Pathology)
  6. ภาควิชาศัลยศาสตร์ (Veterinary Surgery)
  7. ภาควิชาอายุรศาสตร์ (Veterinary Medicine)
  8. ภาควิชาสูติศาสตร์-เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ (Obstetrics, Gynaecology & Reproduction)
  9. ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข (Veterinary Public Health)
  10. ภาควิชาจุลชีววิทยา (Veterinary Microbiology)

หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ

สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.) Doctor of Veterinary Medicine (D.V.M.) หลักสูตร 6 ปี

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ที่รับผิดชอบโดยคณะ

ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก (ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์-คลินิก) Graduate Diploma of Veterinary Clinical Sciences (Grad. Dip. of Vet Clin.Sci.)

หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Master of Science (M.Sc.) 10 สาขาวิชาได้แก่

  1. พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Pathobiology)
  2. เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Pharmacology)
  3. ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ (Veterinary Surgery)
  4. สรีรวิทยาการสัตว์ (Animal Physiology)
  5. การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (Animal Breeding)
  6. อาหารสัตว์ (Animal Nutrition)
  7. วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ (Theriogenology)
  8. อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ (Veterinary Medicine)
  9. สัตวแพทยสาธารณสุข (Veterinary Public Health)
  10. ชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ (Veterinary Biosciences)

หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) Docter of Philosophy (Ph.D.) 6 สาขาวิชาได้แก่

  1. พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Pathobiology)
  2. สรีรวิทยาการสัตว์ (Animal Physiology)
  3. วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ (Theriogenology)
  4. อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ (Veterinary Medicine)
  5. สัตวแพทยสาธารณสุข (Veterinary Public Health)
  6. ชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ (Veterinary Biosciences)

ติดต่อคณะ

คณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์
0 2218 9770
(ศึกษาต่อและปริญญาตรี)
0 22218 9674
(บัณฑิตศึกษา)

โทรสาร
0 2255 3910

เว็บไซต์
www.vet.chula.ac.th

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า