รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
7 กุมภาพันธ์ 2566
แนวหน้า
“มะเร็ง” เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวัน (ต่อต้าน) มะเร็งโลก รศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งว่าสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งร่างกายของเรา สำหรับคนไทยนั้น ถ้าแยกตามเพศแล้วพบว่า เพศชายพบมะเร็งตับและท่อน้ำดีมากที่สุด รองลงมาเป็นมะเร็งปอด ส่วนเพศหญิงพบมะเร็งเต้านมบ่อยที่สุด รองลงมาเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี ทั้งนี้ สาเหตุที่คนไทยเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีมีสาเหตุสำคัญมาจากเรื่องสุขอนามัยและอาหารการกินเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ เช่น มะเร็งตับ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ลดละเลิกการดื่มสุรา ฯลฯ ส่วนมะเร็งท่อน้ำดีก็ป้องกันได้ด้วยการไม่ทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การรักษามะเร็งได้ผลดีคือการตรวจพบโรคตั้งแต่ตัวมะเร็งยังไม่ลุกลาม ด้วยอาการเริ่มต้นของมะเร็งตับและท่อน้ำดีมักมีอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ของระบบทางเดินอาหาร เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง อึดอัดแน่นท้อง ทำให้ผู้ป่วยอาจเริ่มต้นจากการซื้อยาบรรเทาอาการเบื้องต้นจากร้านยา เช่น ยาลดกรด ยาช่วยย่อย ฯลฯ กว่าผู้ป่วยจะไปพบแพทย์ โรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว เพราะฉะนั้นการตระหนักถึงโรคและการเข้าถึงการรักษาได้ทันการณ์ หากพบความผิดปกติไม่ควรทิ้งไว้ ต้องไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน จะทำให้สามารถรักษาโรคให้หายขาดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ล่าสุดภาครัฐมีโครงการ cancer anywhere หรือเป็นมะเร็งแล้วรักษาได้ทุกที่ ผู้มีสิทธิ์บัตรทองและได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงได้ ซึ่งมีส่วนเพิ่มความสะดวกสบายและโอกาสการได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ผ่านมา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้