จุฬาฯ พัฒนาแพลตฟอร์มรักษา “เบาหวาน”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดการเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 16 เปิดโครงการรณรงค์หวานน้อยลงหน่อย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวานกับภาคีเครือข่าย
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติมีผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นกว่า 10% การดูแลด้านสุขภาวะในเรื่องโรคเบาหวาน จำเป็นต้องได้รับการร่วมมือและนำนวัตกรรมต่างๆจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะเป็นประโยชน์
รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวานที่ครอบคลุมระบบ Telemedicine, Non-invasive optical fiber sensor ตรวจคัดกรองผู้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจากสารบ่งชี้ในลมหายใจ Bioinformatics and AI รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมและการรักษาผู้ป่วย และนวัตกรรมในการรักษาโรค ทั้งระบบนำส่งอินซูลิน แผ่นปิดแผล และแผ่นรองรองเท้าลดแผลกดทับ นำไปสู่การรักษาที่แม่นยำเฉพาะบุคคลและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เสริมภารกิจกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าจะสามารถพัฒนาได้เต็มรูปแบบแล้วเสร็จภายในปี 2570

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย