รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
15 มีนาคม 2566
เดลินิวส์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดให้บริการ “ศูนย์เอ็มเน็ต” (Medical Nutrition and Exercise Therapy) หรือศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ โดยศูนย์จะให้คำแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือให้คำปรึกษาอื่นๆ ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแบบเฉพาะบุคคล เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.30 – 19.30 น. ที่ชั้น 15 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ด้วยระบบนัดหมายล่วงหน้า
ผู้สนใจเข้ารับบริการสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfXUkGT757atiHtD7GMOXke-UY2KD0_NtCDIeqqumaomiYFIA/viewform
รศ.สมนึก กุลสถิตพร หัวหน้าศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ (เอ็มเน็ต) คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า “ศูนย์เอ็มเน็ต” เน้นที่คุณภาพการให้บริการมากกว่าจำนวนผู้รับบริการ การให้บริการภายในศูนย์เน้นสองส่วนหลักๆ คือการให้คำปรึกษาทางโภชนาการและการออกกำลังกายแก่ผู้รับบริการทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านความสมดุลร่างกาย โดยจะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและนำผลมาออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
รศ.สมนึก กล่าวเพิ่มเติมว่าทางศูนย์มีแผนในการให้คำปรึกษาทางไกลผ่านระบบออนไลน์สำหรับผู้ที่ติดภารกิจ ไม่สามารถเดินทางมายังศูนย์ได้ และการให้คำปรึกษาผ่านระบบไลน์ แผนงานในอนาคตจะมีการตรวจเป็น package โดยร่วมมือกับคณาจารย์ทางด้านรังสีเทคนิคและเทคนิคการแพทย์ในการดูแลให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งต้องมีการตรวจเลือด ตรวจมวลกระดูก วางแผนเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกระดูก
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้