จุฬาฯ ในสื่อ

วิศวฯ จุฬาฯ รับตรวจ “ซีเซียม 137” ให้กับประชาชนที่กังวลได้รับรังสี

ผศ.ดร.พงษ์แพทย์  เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่ได้รับทราบจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่ามีตรวจพบการปนเปื้อนของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่โรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง ซึ่งแสดงว่ามีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ผ่านการแปรสภาพจากสภาพเดิมไปแล้ว แสดงว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้ผ่านกระบวนการหลอมมาแล้วพร้อมกับโลหะอื่นๆ ซึ่งระหว่างกระบวนการหลอมสามารถเกิดผงฝุ่นปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้ เนื่องจากวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เป็นวัสดุควบคุมกำกับดูแลการใช้งานซึ่งโดยปกติจะไม่มีการส่งจัดการด้วยวิธีการหลอม ประกอบกับเงื่อนเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ผลของการหลอมมาจากท่อบรรจุวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ โดยเจ้าหน้าที่กำลังตามหาอยู่

ผศ.ดร.พงษ์แพทย์  กล่าวว่าโดยปกติกระบวนการหลอมเหล็กที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลจะเป็นระบบปิด จึงไม่ควรเกิดการฟุ้งกระจายของผงฝุ่นที่เกิดขึ้นออกไปนอกเตาหลอม ซึ่งรวมถึงส่วนที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีตัวนี้ด้วย ถ้าหากมีการหลอมปนไปกับเหล็กจริง ๆ  การหลอมจะทำให้สารกัมมันตรังสีที่แต่เดิมมีลักษณะเป็นก้อนเดียวแยกออกจากกันและมีการกระจายตัวออกไป ทำให้ปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาต่อพื้นที่ลดน้อยลง ส่งผลให้หากมีผู้ได้รับรังสีชนิดนี้ก็ได้รับอันตรายจากการได้รับแผ่รังสีน้อยลงเช่นเดียวกัน  แต่เนื่องจากสารกัมมันตรังสีกลายเป็นอนุภาคขนาดเล็ก ๆ หรือฝุ่น ซึ่งอาจเกิดการฟุ้งกระจายออกไปนอกบริเวณเก็บได้หากมีการปกคลุมไว้ไม่ดีพอ ทำให้มีโอกาสที่มนุษย์จะสูดดมหรือบริโภคเข้าไปภายในร่างกายได้ อย่างไรก็ดี ร่างกายมนุษย์มีกลไกที่สามารถกำจัดซีเซียมออกได้  หากไม่ได้สูดดมหรือบริโภคเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ กล่าวว่าโดยปกติแล้ว คนมีโอกาสได้รับรังสีจากสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ที่แพร่กระจายด้วยกัน 2 วิธี วิธีแรกคือ ฝุ่นปนเปื้อนสารซีเซียม 137 อาจจะฟุ้งมาเกาะตามเสื้อผ้าหรือผิวหนัง โดยฝุ่นซีเซียม 137 นี้ สามารถแผ่รังสีที่ผิวหนังเราได้ หากถอดเสื้อผ้า ชำระล้างร่างกายทันทีด้วยน้ำเปล่า เราก็สามารถกำจัดฝุ่นหรือผงวัสดุกัมมันตรังสีออกจากร่างกายเราได้  วิธีที่สองคือการที่เราสูดดมเอาฝุ่นปนเปื้อนสารซีเซียม 137 เข้าไปในร่างกาย หรือกินอาหารที่ปนเปื้อนสารซีเซียม 137 หรือที่มาเกาะบริเวณใกล้จมูกหรือปากเราแล้วมีการเผลอเข้าสู่ร่างกายเรา ก็จะมีการผ่านเข้าไปยังระบบทางเดินอาหาร หรือทางเดินหายใจ แต่ด้วยสารซีเซียม 137 นี้มีคุณสมบัติคล้ายกับโพแทสเซียม แม้ว่าจะกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ แต่ก็ถูกขับถ่ายออกมาจากร่างกายได้ค่อนข้างเร็วตามกลไกเดียวกันกับโพแทสเซียม  หากมีการสะสมจะมีการสะสมตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ แต่ก็จะสะสมอยู่ไม่นาน ประมาณ 10% สามารถกำจัดออกเร็วโดยจะมีค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพเพียง 2 วัน และส่วนที่เหลือจะถูกกำจัดออกด้วยค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพราว 110 วัน ซึ่งหมายความว่าซีเซียมที่ได้รับจะอยู่ในร่างกายไม่กี่เดือนเท่านั้น และการกำจัดจะเกิดขึ้นเร็วกว่าด้วยในเด็ก

แม้ฝุ่นปนเปื้อนสารซีเซียม 137 ที่ผ่านการหลอมแล้วจะยังแผ่รังสีอยู่ แต่หากมีการจัดการที่ถูกวิธีก็จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่จะส่งผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อคนทั่วไปได้ เนื่องจากซีเซียม 137 ที่ผ่านการหล่อหลอมทำให้ความรุนแรงในการปล่อยรังสีต่อพื้นที่ลดน้อยลงไปมาก ต้องสัมผัสเป็นเวลานานจึงจะส่งผลใดๆ ต่อร่างกาย ส่วนฝุ่นปนเปื้อนซีเซียม 137 ค่อนข้างเป็นสารที่มีน้ำหนักทำให้ไม่สามารถกระจายไปตามลมได้ไกลมากนัก ประกอบกับปริมาณที่ไม่มากเพราะส่วนใหญ่ยังอยู่ที่โรงหลอม การควบคุมพื้นที่ของการปนเปื้อนจึงดำเนินการได้ไม่ยากนัก

หากผู้ใดในพื้นที่มีความกังวลหรือคาดว่ามีโอกาสประสบกับการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สามารถติดต่อภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-6781 เพื่อช่วยในการตรวจวัดปริมาณรังสีโดยรอบได้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า