จุฬาฯ ในสื่อ

คอลัมน์ VARIETY: รพ.จุฬาฯร่วมม.นาโกยาพัฒนา’CAR-T cell’ เทคนิคใหม่ไม่ใช้ไวรัสรักษามะเร็งระบบเลือด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 17 เรื่อง “ความก้าวหน้านวัตกรรม เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell: โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย” เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาฯ เผยผลสำเร็จการวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชาวไทยด้วย CAR T cell โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น

นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้าหน่วยวิจัยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า นวัตกรรมเซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดรูปแบบหนึ่ง โดยการนำเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ของผู้ป่วยมาดัดแปลงพันธุกรรมให้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งและเพิ่มจำนวนให้มากพอภายนอกร่างกาย ซึ่งจะทำในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษ จากนั้นจะฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งนวัตกรรม CAR-T cell นี้มีประสิทธิภาพสูงถึง 50-80% สำหรับการรักษามะเร็งทางระบบเลือดในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆแล้ว ทางกลุ่มวิจัยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมนี้ให้เกิดขึ้นจริงในไทย เริ่มจากการจัดตั้งศูนย์การผลิตเซลล์และยีนบำบัดที่ทันสมัยขึ้น ซึ่งนับเป็นสถานที่ผลิตเซลล์ภายในสถานพยาบาลแห่งแรกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

การผลิต CAR-T cell โดยอาศัยพาหะไวรัส (viral vector) ในการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้ในมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ CAR-T cell มีต้นทุนสูงมาก ทางกลุ่มวิจัยจึงได้ร่วมมือกับคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังศึกษาวิจัยการผลิต CAR-T cell โดยไม่ใช้ไวรัส เพื่อลดต้นทุนการผลิต จนประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการและทดสอบการผลิต CAR-T cell แบบที่ไม่ใช้ไวรัสจากเลือดของผู้ป่วยอาสาสมัครชาวไทย โดยมีต้นทุนการผลิตลดลงถึง 10 เท่า นำไปสู่ความร่วมมือในการวิจัยทางคลินิกต่อไป

Prof. Yoshiyuki Takahashi, MD, PhD หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่าทีมวิจัยของนาโกย่าได้พัฒนาวิธีการผลิต CAR-T cell โดยไม่ใช้ไวรัสเป็นพาหะในการดัดแปลงพันธุกรรม ด้วยเทคโนโลยี piggyBac transposon เป็นพาหะ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่า และมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้ไวรัสมาก เมื่อปี 2561 มหาวิทยาลัยนาโกย่า ได้ทำข้อตกลงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและรักษามะเร็งด้วย CAR-T cell ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย โดยการสนับสนุน piggyBac Transposon สำหรับการผลิต CAR T cell เพื่อดำเนินการทำวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งในขณะนี้การวิจัยทางคลินิกในไทยยังคงเดินหน้าต่อไป และมีความปลอดภัยในการใช้รักษาผู้ป่วย

ทางประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มดำเนินการวิจัยทางคลินิกด้วยนวัตกรรม CAR-T cell ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ในเบื้องต้นได้ผลดีมากและกำลังจะเริ่มงานวิจัยทางคลินิกในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่มีการกลับมาเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา นำโดยมหาวิทยาลัยนาโกย่าร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยฮอกไกโด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกียวโต โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคิวชู โรงพยาบาลศูนย์โรคมะเร็งแห่งชาติภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีความมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม CAR-T cell ให้เกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้มีผู้ป่วยเข้าถึงนวัตกรรมนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทีมวิจัยได้เริ่มการวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 1 ในช่วงปลายปี 2563 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพเบื้องต้นของ CAR-T cell ในการใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ที่มีโรคกลับเป็นซ้ำและดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานอื่น ๆ แล้วจำนวน 5 ราย หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับ CAR-T cell เข้าไปแล้วนั้น ผู้ป่วยมีการตอบสนองเบื้องต้นอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและมีผลข้างเคียงอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ใกล้เคียงกับการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์ CAR-T cell ที่ใช้กันอยู่ในต่างประเทศ นอกจากนี้ในผู้ป่วยอาสาสมัครรายหนึ่งที่มีก้อนขนาดใหญ่ถึง 10 เซนติเมตร และดื้อต่อการรักษามะเร็งทุกชนิดที่มีอยู่ เมื่อเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้พบว่าเราสามารถควบคุมโรคไว้ได้ และทำให้ผู้ป่วยปราศจากโรคมาแล้วถึง 1 ปีหลังจากที่ได้รับ CAR-T cell เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

หลังจากนี้ทีมวิจัยตั้งเป้าไว้ว่าจะดำเนินการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยเพิ่มอีก 7 ราย รวมเป็น 12 ราย ให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 หากผลเป็นที่น่าพอใจ เป้าหมายต่อไปคือการเปิดให้บริการการรักษาด้วย CAR-T cell ที่สามารถผลิตขึ้นเองได้ภายในสถานที่ผลิตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า