จุฬาฯ ในสื่อ

เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เห็นด้วยเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ แนะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงสภาวะยากจนและค่าครองชีพที่สูงขึ้นว่าเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ภาพสำคัญที่สะท้อนว่าค่าจ้าง   ขั้นต่ำในอัตราปัจจุบันไม่เพียงพอ คือการทำงานล่วงเวลาของบรรดาลูกจ้างที่ต้องดิ้นรนทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงตามที่กฎหมายระบุ ซึ่งแลกมาด้วยคุณภาพชีวิตที่ถดถอย กลับบ้านดึก มีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง

ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานจากรั้วจุฬา ฯ เสนอการแก้ปัญหา 3 ข้ออย่างตรงจุดที่นายจ้างและลูกจ้างได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ข้อแรกคือ การพัฒนาฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น เมื่อลูกจ้างทำผลงานได้ดีขึ้น นายจ้างก็สามารถจ่ายค่าจ้างได้โดยไม่เดือดร้อนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่ภาครัฐและนายจ้างควรทำในระยะยาวคือการเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การสร้างผลิตผลที่มากขึ้น

ข้อที่สองคือ การบังคับใช้ค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามนิยามอย่างแท้จริง โดยนิยามของ “ค่าจ้างขั้นต่ำ” คือค่าตอบแทนต่ำสุดที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง “แรกเข้าและไร้ฝีมือ”

ข้อที่สามคือ การเพิ่มอัตราเงินสมทบ เพราะอัตราเงินสมทบที่คิดจากเพดานเงินเดือนลูกจ้างเพียงแค่ไม่เกิน 15,000 บาทในปัจจุบัน ไม่สามารถให้หลักประกันที่มั่นคงกับชีวิตของแรงงานได้

ศาสตราภิชาน แล มองว่าตลาดแรงงานไทยในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลกถือว่ามีปัญหาน้อย แต่ประเด็นสำคัญคือประสิทธิภาพแรงงานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จึงทำให้ได้ค่าตอบแทนที่ต่ำไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ลูกจ้างเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงต่ำ และอำนาจต่อรอง ในการกู้ยืมน้อย เมื่อค่าจ้างขึ้นไม่ทันรายจ่าย การก่อหนี้ย่อมตามมา นำไปสู่การกู้ยืมนอกระบบที่เสียดอกเบี้ยแพงกว่ามาก ทำให้ยอดหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ยิ่งเป็นการทับถมปัญหาที่เลวร้ายที่สุดของประเทศไทยคือความเหลื่อมล้ำ

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า