จุฬาฯ ในสื่อ

แพทย์จุฬาฯ ชี้ ‘มะเร็งปอด’ รักษาหายได้ ประคองคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของคนไทยเกือบแสนรายในแต่ละปี และมีแนวโน้มผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆมะเร็งปอดในระยะแรกมักไม่ปรากฎอาการ จนเมื่อผู้ป่วยพบว่าตัวเองไอเรื้อรัง น้ำหนักลด โรคมะเร็งปอดก็ลุกลามและแพร่กระจายแล้วการตรวจพบมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและได้รับรักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคได้มะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อโรคมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่  หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับปัจจัยก่อมะเร็ง

รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ ประธานคณะทำงานมะเร็งปอดเพื่อคนไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร พร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ได้เผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดอย่างรอบด้าน ทั้งสาเหตุ อาการ แนวทางการรักษา ตลอดจนประเด็นความเข้าใจผิดต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็งปอด

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดในปัจจุบันใช้วิธีการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำ (Low-dose CT) ซึ่งสามารถตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นได้ราว 60-90% มากกว่าการตรวจเอกซเรย์ปอดถึง 4 เท่า อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองด้วยเทคโนโลยีนี้เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งปอด เช่น “คนสูบบุหรี่” การผ่าตัดเป็นแนวทางการรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ถ้าโรคเข้าสู่ระยะกลางๆ อาจจะมีการฉายแสงเสริมเข้ามา รวมทั้งมีการผ่าตัดและให้ยา แต่ถ้าโรคแพร่กระจายไปมากแล้ว ก็อาจจะให้ยาเพียงอย่างเดียว หรือฉายแสงเพื่อบรรเทาอาการ

นอกจากการผ่าตัดแล้ว แนวทางการรักษามะเร็งปอดยังมีเรื่องการรักษาด้วยการฉายรังสีด้วย ปัจจุบัน แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมีลักษณะเหมือนการรักษาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยสามารถอยู่กับโรค รักษาคุณภาพชีวิตและมีชีวิตยืนยาวขึ้น โดยมียารองรับในการรักษากว่า 10 ชนิด เช่น ยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ที่มักใช้รักษผู้ป่วยในระยะ 4 ก็ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งปอดมีชีวิตยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีทางเลือกใหม่เข้ามาเสริมคือ “วัคซีนมะเร็ง”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า