จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ’เจเนอเรทีฟ เอไอ’เรียนสอน มุ่งปั้นบุคลากรตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัว Open AI อย่าง ChatGPT หุ่นยนต์แช็ตบ็อต (Al Chatbot) ที่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือโลกเข้าสู่ยุค AI แล้ว ประเทศไทยพร้อมรับมือไหม? เป็นคำถามและชื่อของหนึ่งในสองงานเสวนาวิชาการที่จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ส่วนอีกงานหนึ่งชื่อ “จุดยืน จุฬาฯ นำการศึกษารุดหน้าด้วย Generative AI”

ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ราชบัณฑิต ให้ความเห็นว่า“AI Literacy จะเป็นหนึ่งในสามสมรรถนะพื้นฐานที่เยาวชนต้องเรียนรู้ นอกจากสมรรถนะทางด้านภาษาและการคำนวณ AI จะอยู่กับเราตลอดไป หากเราไม่พัฒนาคนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI เราจะก้าวไม่ทันโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอนาคตหาก AI เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น AI จะสามารถสร้างงานได้อย่างมหาศาล โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน

รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถานบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ ชวนให้มอง AI ในมุมบวกของ AI ที่จะเข้ามาเสริมศักยภาพมนุษย์ โดยอาจจะต้องขยายขอบเขตความรับผิดชอบของตัวเองให้ขยับไปสู่งานอื่นหรืองานใหม่ๆ ที่ยากขึ้น เราคงไม่อาจทำงานแบบที่เป็นงานประจำ หรือทำอะไรเหมือนเดิมทุกวี่วันได้ คงต้องมองงานเป็นโอกาสในการเรียนรู้ การทำเช่นนี้ทำให้ทุกคนต้องหมั่นพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

รศ.ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ นำเสนอความก้าวหน้าของจุฬาฯ ในการบุกเบิกการนำนวัตกรรม Generative AI เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์และนิสิตในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์แบบ Generative AI เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากในยุคปัจจุบัน เพราะศักยภาพในการสร้างเนื้อหา รูปภาพ และการเขียนโค้ดต่าง ๆ ทำให้คนทำงานได้ง่ายขึ้น นับเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสในธุรกิจ การศึกษา และกระบวนการทำงานในหลายอาชีพ จุฬาฯ ได้วางแนวปฏิบัติในการใช้เครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์ของจุฬาฯ เพื่อดูแลและกำกับการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม สอดคล้องกับหลักจริยธรรม และเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน โดยแบ่งเป็น 3 หมวดสำคัญ ได้แก่  การเรียนการสอนและการประเมินผล การใช้งานเครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์ การปกปิดความลับและข้อมูลส่วนบุคคล

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า