จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนิทรรศการถาวรในอาคารเรือนกระจก (Glass house) รวบรวมพรรณไม้สำคัญทางด้านพฤกษศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2040 และมีเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 หนึ่งในกลยุทธ์ที่เราทำมาอย่างต่อเนื่องก็คือการนำงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้พร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งคณาจารย์และนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาคีเครือข่ายกำลังเร่งขับเคลื่อนบ่มเพาะองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงงานวิจัยและนวัตกรรมให้ทันรับมือกับสภาวะโลกเดือดตามที่สหประชาชาติได้ประกาศไว้ ซึ่งได้รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านนี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต หรือ Living Plant Museum

รศ.ดร.สีหนาท ประสงค์สุข หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิตแห่งนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ใช้จัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตจุฬาฯ มีการวิจัยพืชในระบบควบคุมอุณหภูมิ (evaporative cooling system) และจัดแสดงนิทรรศการถาวรนําเสนอข้อมูลความหลากหลายและวิวัฒนาการของพืชในรูปแบบที่พืชยังมีชีวิต มีพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ตํ่ากว่า 200 ชนิด ภายในอาคารเรือนกระจก พื้นที่ 464 ตารางเมตร จัดแสดง 6 รูปแบบ ประกอบด้วย นิทรรศการความหลากหลายของพืชในป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน นิทรรศการพืชทนแล้ง นิทรรศการพืชน้ำ นิทรรศการพืชกลุ่มเทอริโดไฟต์ นิทรรศการกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย และนิทรรศการวิวัฒนาการของพืชดอก ล่าสุดมีการนำนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีหัวเชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Inoculum Technology) ผลงานวิจัยของ ผศ.จิตรตรา เพียภูเขียว อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ศึกษาด้านราไมคอร์ไรซามาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี นำมาต่อยอดผลิตหัวเชื้อราไมคอร์ไรซาผสมในดินปลูกกล้าไม้พื้นถิ่นวงศ์ยาง ช่วยเพิ่มอัตราการรอดให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้ในสภาพภูมิอากาศแปรปรวน โดยจุฬาฯ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนและขยายผลไปยังพื้นที่ป่าชุมชนจังหวัดสระบุรีกว่า 3,000 ไร่ และในพื้นที่อีก 7 จังหวัด นอกจากนี้ เมื่อกล้าไม้อัตรารอดสูงเติบโตเป็นไม้ใหญ่แล้วยังทำให้เกิดเห็ดป่าที่รับประทานได้ผุดขึ้นอีกหลายชนิด ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้อย่างยั่งยืน

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ยังจัดกิจกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน “โครงการปลูกต้นกล้าสู้โลกเดือด”  ด้วยการจัดเตรียมต้นกล้าไม้ยางนาจากผลงานวิจัยและพัฒนากล้าไม้ที่มีอัตราการรอดสูงด้วยเทคโนโลยีเชื้อไมคอร์ไรซ่า เพื่อนำไปปลูกในชุมชนจำนวน 107 ต้น รวมทั้งยังจัดกิจกรรมปลูก “ต้นราชพฤกษ์อวกาศ” ในโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตร

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า