รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
16 ตุลาคม 2566
สยามรัฐ
นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบีแบบไร้สาย ตรวจคัดกรองหาเชื้อ พร้อมเก็บข้อมูลขึ้นฐานข้อมูลออนไลน์ รวดเร็ว ครบ จบในขั้นตอนเดียว ตั้งเป้าผลิตเชิงอุตสาหกรรมเพื่อนำไปใช้ตรวจได้ทั่วประเทศ
ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคตับอักเสบและมะเร็งตับ (Center of Excellence in Hepatitis and Liver Cancer) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะผู้วิจัยกล่าวว่าปัจจุบันการตรวจโปรตีนไวรัสตับอักเสบบีนั้น ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรและใช้เครื่องตรวจขนาดใหญ่แบบ machine-based assays ซึ่งมักจะมีอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีราคาแพง ดังนั้นการเข้าถึงการตรวจจึงยังค่อนข้างจำกัดและมีความขาดแคลนในพื้นที่ที่ห่างไกล
ชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบีแบบไร้สายมีข้อดีคือนอกจากจะได้ผลตรวจที่รวดเร็วแล้ว ยังสามารถบอกปริมาณของเชื้อไวรัสได้คร่าว ๆ และสามารถอัปโหลดข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นระบบออนไลน์ได้ทันทีแบบ real time และมีความจำเพาะ เจาะจงของข้อมูลได้ว่าเป็นผลตรวจของใคร ซึ่งสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี การระบุว่าใครเป็นหรือไม่เป็น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานในการรักษา
อ.ดร.ณัฐธยาน์ ช่วยเพ็ญ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่าชุดตรวจวัดไวรัสตับอักเสบบีแบบไร้สายฯ เป็นชุดตรวจวัดสารทางชีวภาพด้วยเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical biosensors) โดยอาศัยการทำปฏิกิริยาอย่างจำเพาะเจาะจงระหว่างแอนติเจน (antigen) และแอนติบอดิ (antibody) เมื่อมีการจับกันระหว่าง antigen และ antibody แล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า และใช้เครื่องมือตรวจจับกระแสไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าแอมเพอโรเมตริก (amperometric detection) หากมีเชื้อไวรัสหรือ antigen อยู่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า ซึ่งค่าของกระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้สามารถอ้างอิงถึงปริมาณของเชื้อที่มีอยู่คร่าวๆ โดยจะแปรผกผันตามกระแสไฟฟ้าที่วัดได้ ชุดตรวจนี้ นอกจากบอกได้ว่าเจอหรือไม่เจอเชื้อแล้ว ยังสามารถบอกปริมาณคร่าว ๆ ของเชื้อที่พบได้ด้วย ถ้ากระแสไฟฟ้าน้อยคือเชื้อเยอะ กระแสไฟฟ้าเยอะคือเชื้อน้อย ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็ทราบผล
สำหรับขั้นตอนการตรวจคัดกรองโรคจะใช้ “ตัวอย่างเลือด” ปริมาณซีรัมเพียง 2 ไมโครลิตร มาหยดและบ่มบนขั้วไฟฟ้าจากนั้นล้างด้วยน้ำยา wash buffer และรอให้แห้ง ใช้เวลาเพียงไม่เกิน 10 นาทีก็สามารถให้ผลการวิเคราะห์โดยจะสังเกตุเห็นกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) โดยกำหนดระยะเวลาการวิจัยไว้ 3 ปีด้วยกัน แบ่งเป็น 3 เฟส (phase) นับตั้งแต่การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ หรือ prototype ไปจนถึงการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์จริง พร้อมวางจำหน่าย (commercialization) ในเฟสที่ 3 ปัจจุบันงานวิจัยอยู่ในเฟสที่ 2 คือขั้นตอนของการเก็บข้อมูลเพื่อลงพื้นที่ รวมถึงการเก็บข้อมูลการใช้งาน และทำ clinical trial หรือการทดสอบทางคลินิก และยื่นขอ อย. ก่อนที่จะผลิตในลักษณะ commercialized kit หรือผลิตภัณฑ์ที่พร้อมวางจำหน่ายในเฟสต่อไป
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้