รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
10 พฤศจิกายน 2566
แนวหน้า
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ แคร์ ดีพลัส (Care D+) ประจำปี 2567 ณ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
โครงการแคร์ ดีพลัส เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) ที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอต่อรัฐบาลว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายใน 100 วัน เมื่อผู้ป่วยไปเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ได้ยา และได้กลับบ้าน สิ่งที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้นคือการปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติที่มีความเปราะบางทางอารมณ์ วิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้และสิ้นหวัง ซึ่งหากบุคคลเหล่านั้นได้รับการสื่อสารและเอาใจใส่ที่ดี หรือมีวิธีการขั้นตอนต่างๆ ที่สร้างความเห็นอกเห็นใจ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่ามีผู้ดูแลรักษาและเอาใจใส่
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ (Emphatic Communication) ในภาคการดูแลสุขภาพ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 7 บทเรียน โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสาร (Crisis Communication Management) และการสื่อสารด้วยความเข้าใจ เชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกัน (Emphatic Communication) การอบรมมีทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม cug.academy โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและจิตวิทยาจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน เป็นต้นไป โดยภายในเดือนธันวาคมนี้จะมีทีม Care D+ รวม 1,000 คน และจะครบ 10,000 คน ตามเป้าหมายภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะมีการประเมินผลการอบรมและปรับปรุงหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้สามารถสื่อสารประสานใจ สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างดี
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ กล่าวว่า สธ. และ จุฬาฯ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ เป็นการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้รู้สึกคลายกังวล สร้างความเข้าอกเข้าใจให้กับประชาชน ทำให้ประสิทธิภาพในการบริการประชาชนทำได้สูงสุด โดยหลักสูตร 7 บทเรียนจะมีทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ หลังจากนั้นก็จะมีการสอบวัดผลด้วย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้