รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
15 พฤศจิกายน 2566
กรุงเทพธุรกิจ
อ.ชัชนี ภควัตสุนทร อาจารย์พิเศษสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้น “เครื่องวิเคราะห์การทรงตัว” ใช้ตรวจสอบการทรงตัว ยืนเซ เพื่อปรับพฤติกรรม ป้องกันอันตรายจากการล้ม นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลเหรียญทอง และรางวัลพิเศษ (Special award) ระดับเหรียญทอง จาก World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) ในงาน 34th International Innovation & Technology Exhibition 2023 (ITEX 2023) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย
การทรงตัวที่ไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม โรค การบาดเจ็บ การใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล รวมถึงสภาพร่างกายของแต่ละคน เราจะรู้ว่าการทรงตัวของเราผิดปกติก็ต่อเมื่อรู้สึกเซ หรือมีอาการเซ จนถึงขั้นล้ม ดังนั้นการมีอุปกรณ์ที่สามารถวิเคราะห์การทรงตัวจะช่วยให้เรารับรู้ความผิดปกติ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และป้องกันไม่ให้เกิดการล้มได้ “เครื่องวิเคราะห์การทรงตัว” เป็นอุปกรณ์ดิจิทัลเทคโนโลยีแบบ Deep Tech มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ประกอบด้วย 2 อุปกรณ์หลักคือ ตัวแท่นยืน และสาย USB สำหรับต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อแสดงผลผ่านหน้าจอ การใช้งานอุปกรณ์นี้เพียงแค่ต่อสาย USB จากแท่นยืนเข้ากับอุปกรณ์ เช่น แท็บเล็ต มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ขึ้นไปยืนบนแท่นยืนเหมือนกับเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องก็จะแสดงผลการวิเคราะห์การทรงตัวบนหน้าจออุปกรณ์ที่เราเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์
เครื่องวิเคราะห์การทรงตัวไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่เด็กที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไป (หรือมีน้ำหนัก 10 กิโลกรัมขึ้นไป) รวมถึงนักกีฬา ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ผู้ที่ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ
ในอนาคต อ.ชัชนีจะต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์การทรงตัวให้สามารถขยายผลการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ระบบสายตา ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรับรู้ความรู้สึก ระบบหู และระบบต่าง ๆ ที่มีเชื่อมโยงและส่งผลต่อการทรงตัว
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้