รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
22 ธันวาคม 2566
ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดผลการสำรวจ “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ” (National Retirement Readiness Index :NRRI) ประจำปี 2566 พร้อมระดมสมองกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) แลกเปลี่ยนความคิดภายใต้หัวข้อ “การเตรียมความพร้อม เพื่อการเกษียณอายุ เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด” และ “ทักษะทางการเงินและทักษะทางดิจิทัลของคนไทย” เพื่อร่วมวางมาตรการกระตุ้นการออม
ผศ.ดร.รัฐชัย ศีลาเจริญ หัวหน้าภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดความพร้อมเพื่อการเกษียณ หรือ NRRI เกิดจากการสำรวจข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จัดทำทุก 2 ปี เป็นดัชนีที่ครอบคลุมทั้งความมั่นคงทางการเงิน และความมั่นคงด้านสุขภาพ/คุณภาพชีวิต ผลการสำรวจในปีนี้จากประชากร 2,464 คน พบว่าคนไทยมีความพร้อมเพื่อการเกษียณอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยทำให้เห็นว่าคนไทยยังออมเงินไม่พอ เป็นแรงผลักดันให้คณะผู้วิจัยต้องการให้ NRRI เป็นเครื่องมือให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดและวางมาตรการส่งเสริมการออม ทำให้คนไทยมีทักษะด้านการจัดการเงินไม่ใช่เพียงแค่การรอบรู้เท่านั้น แต่ต้องนำไปสู่การปรับพฤติกรรมด้วย ซึ่งการส่งเสริมการออมนั้นจะต้องมีแนวทางที่แตกต่างของคนแต่ละกลุ่มวัย ในส่วนของวัยผู้ใหญ่จะต้องเน้นทักษะการจัดการปัญหาหนี้สินเป็นหลัก กลุ่มเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไปซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ต้องเน้นมาตรการเชิงป้องกัน โดยสอดแทรกเข้าไปในหลักสูตรการเงินส่วนบุคคลในโรงเรียน และสถาบันการศึกษา แต่ต้องปรับโจทย์ใหม่มุ่งไปที่กระตุ้นการออมโดยตรง รวมถึงต้องให้ทักษะด้านดิจิทัลไปพร้อมกัน
รศ.ดร.อนิรุต พิเสฎฐศลาศัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเงินและบัญชี และอาจารย์ภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า จากข้อมูลรายได้หลังเกษียณที่จะทำให้ประชาชนมีเงินใช้จ่ายต่อเดือนเพียงพอ ต้องอยู่ระหว่าง 15,000 – 25,000 บาท ซึ่งพบว่ามีกลุ่มคนจำนวนมากที่รายได้ไม่ถึง สิ่งที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน คือการเพิ่มการรอบรู้ด้าน Financial Literacy และ Health Literacy เพื่อนำไปสู่การวางแผนจัดการด้านการเงินส่วนบุคคลให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่มีความมั่นคงทางการเงิน และความมั่นคงด้านสุขภาพ/คุณภาพชีวิตในระดับต่ำ ได้แก่ กลุ่มอาชีพอิสระ ลูกจ้าง และคนทำงานรับจ้าง อยู่ในพื้นที่ภาคกลาง อายุระหว่าง 18-29 ปี ขณะที่กลุ่มคนที่มีความพร้อมสูง ได้แก่ เจ้าของกิจการ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้