จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ จัดเสวนา ‘ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ’ ชี้ยังมีความหวังกำจัดให้หมดสิ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ จัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 24 “ระดมคิด พลิกวิกฤตคางดำ” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบันและหน่วยงาน เพื่อร่วมกันหาทางออกและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย พร้อมตอบข้อสงสัยต่าง ๆ อันกำลังได้รับความสนใจจากสังคม

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ประธานเปิดงานเสวนา กล่าวว่า ปัญหาปลาหมอคางดำเป็นวิกฤตที่ส่งผลทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศของไทย และทุกภาคส่วน การเสวนาครั้งนี้เป็นการบูรณาการความคิดจากทุกภาคส่วนและผนึกความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่มีความรู้ทางด้านทรัพยากรทางน้ำ วิศวกร มาแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ ข้อมูลจากมุมมองทางวิชาการทางด้านปลาหมอคางดำในหลากหลายมิติจากการเสวนาครั้งนี้จะนำเสนอต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องปลาหมอคางดำอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าปลาหมอคางดำเป็น “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น” ซึ่งหมายถึงพืชหรือสัตว์ที่ไม่เคยอยู่ในบ้านเรามาก่อน
อาจจะถูกนำเข้าเพื่อปากท้อง เศรษฐกิจ ความสวยงาม จนอาจมองข้ามผลกระทบเชิงระบบนิเวศ หรือไม่ตั้งใจแต่มาเอง เช่น มาจากน้ำอับเฉาในเรือบรรทุกสินค้า ที่นำมาปล่อยทิ้งปลายทาง
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

“ปลาหมอคางดำ” ที่ชาวบ้านกล่าวขานกันว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ เป็นสิ่งมีชีวิตนำเข้าที่น่ากลัว เพราะระบาดไปทั่ว โดยมีการระบาดมาตั้งแต่ช่วงปี 2558-2559 กระทั่งมีประกาศ กรมประมง ห้ามเพาะเลี้ยงหรือนำเข้า เมื่อปี 2561
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ยืนยันว่าประเทศไทยรับมือกับปลาหมอคางดำมานานแล้ว ในมุมของนักสิ่งแวดล้อม มีการถกเถียงในเรื่องนี้มาเป็นกว่า 20 ปี ท่ามกลางความพยายามเพื่อหยุดการระบาด สารพัดข่าวปลอมเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนแตกตื่น บ้างก็มองว่าเป็น “ปลาซอมบี้” ฟื้นได้ฆ่าไม่ตาย ที่เรียกปลาหมอคางดำ (Blackchin tilapia) เพราะคางเข้ม กรอบหน้าชัด มักเจอขนาด 5-6 นิ้ว แต่โดยเฉลี่ยมีขนาดประมาณ 8 นิ้ว ถึง 11 นิ้ว ปัจจุบันประชาชนมีความกังวลเรื่องการกลายพันธุ์ และมีการผสมพันธุ์กันจนกลายเป็น “ปลานิลคางดำ” ซึ่งการผสมพันธุ์กันนั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะเป็นคนละชนิดกันกับปลาหมอเทศและปลานิล แต่สามารถนำมารับประทานได้ ไม่ควรแตกตื่นกับข่าวลือมากเกินไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า