รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
31 ตุลาคม 2567
ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าจุฬาฯ เผชิญความท้าทายในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น disruption ทางด้านเทคโนโลยี สังคมสูงวัย วิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ฯลฯ จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยคงไม่พอ แต่จะต้องแข่งขันในระดับนานาชาติกับมหาวิทยาลัยอื่นในภูมิภาคอาเซียนด้วย ดังนั้นจุฬาฯ ต้องทลายกำแพงของศาสตร์ต่าง ๆ ภาควิชา และคณะโดยเน้นการทำงานร่วมกัน มีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ การเรียนรู้และวิจัยข้ามสาขาวิชา สามารถตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ในโลกได้ดียิ่งขึ้น
อีก 4 ปีข้างหน้าจุฬาฯ จะครบรอบ 111 ปี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ได้วาง 4 ยุทธศาสตร์พัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเอไอ (AI University)นอกจากจะเน้นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI แล้ว จุฬาฯ ยังต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีทักษะ AI Ready ใช้ AI ให้เป็น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Internationalization
จุฬาฯ ปรับจาก Research University That Teaches เป็น Research University That Leads โดยการเชื่อมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีหลักสูตรระหว่างประเทศมากขึ้น มีอาจารย์และนิสิตต่างประเทศเข้ามาร่วมในการเรียนการสอน ตลอดจนมีความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น MIT มหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Sustainability
จุฬาฯ ถอดบทเรียนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ด้านการระวังภัย สามารถแก้ไขและเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ”
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Social Engagement
จุฬาฯ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนทั้งในเมืองและต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก โดยคณะและหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการในเรื่องนี้มาโดยตลอด เช่น การส่งนิสิตและอาจารย์ไปฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าไปช่วยดูแลสุขภาพในพื้นที่ชนบท เป็นต้น
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ ได้จัดตั้ง CU Enterprise และสตาร์ทอัพในคณะต่าง ๆ ยกระดับงานวิจัย รวมทั้งมีการเชิญ Professor ชั้นนำจากต่างประเทศมาสอนและทำวิจัยร่วมกับอาจารย์จุฬาฯ ด้านมุมมองในเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีความสำคัญ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการที่จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณค่าทำให้สังคมเห็นผลลัพธ์จากการศึกษาและการวิจัยที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง เพราะเกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้