รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
6 พฤศจิกายน 2567
Thai PBS
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถค้นหาคำตอบได้แค่ปลายนิ้ว ความรู้หาได้ 24 ชั่วโมงจากการหาคำตอบด้วย Google และ YouTube หรือสามารถเรียนคอร์สออนไลน์ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามว่ามหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคดิจิทัล
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คุยนอกกรอบ กับสุทธิชัย หยุ่น” ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถึงวิสัยทัศน์การสร้างมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับสากล บทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเปลี่ยนชีวิตคน และการพัฒนาประเทศ ศ.ดร.วิเลิศกล่าวว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังมีความจำเป็นอยู่ เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นแค่สถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการสร้างภูมิปัญญา ความฉลาด ตลอดจนให้ประสบการณ์ มิตรภาพ และ Soft Skills รวมทั้งจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นคุณค่าของมหาวิทยาลัยไม่สามารถถูกทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI
จุฬาฯ มีวิสัยทัศน์สู่การเป็น Global Thai University เป็นมหาวิทยาลัยไทยระดับโลก และเป็น AI University บทบาทของมหาวิทยาลัยไทยไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการยกระดับคุณภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น จุฬาฯ มุ่งเน้นเรื่องความเป็นนานาชาติ ผลงานวิจัยจำนวนมากของคณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการอ้างอิงจากต่างประเทศ รวมทั้งจุฬาฯ มีความร่วมมือทางด้านหลักสูตรต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัยในระดับโลก นอกจากนี้บทบาทมหาวิทยาลัยมีการขยายผู้เรียนให้กว้างขึ้นไม่ใช่แค่นิสิตเท่านั้น ปัจจุบันจุฬาฯ มีการปรับกลยุทธ์เน้นหลักสูตร None- Degree การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จุฬาฯ เรียกว่า Lifelong Leading นิสิตที่เรียนจุฬาฯ สามารถเรียนไปด้วยและทำงานไปด้วย เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้