จุฬาฯ ในสื่อ

วัน เพ็ญ (Won Phen) “กระทงวน”ลอยแล้วโลกรักเรา

เปิดตัว “น้องวันเพ็ญ” (Won Phen) กระทงไร้ขยะ ใช้ซ้ำได้ไม่รู้จบ ผลิตโดย“ก้องกรีนกรีน” ร่วมกับ Qualy สตูดิโอด้านออกแบบ และมูลนิธิ TerraCycle Thai ในงานลอยกระทงปี 2567 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ที่บูทสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Won Phen มีที่มาจาก Wonderful Phenomenon แปลว่า ปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ที่ทำให้เกิดประเพณีอันสวยงามนี้ขึ้นทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อลดขยะในแม่น้ำลำคลอง พร้อมรักษาประเพณีลอยกระทง รักษาแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กัน โดยนำขยะพลาสติกจากคลองลาดพร้าวมาสร้างสรรค์เป็นกระทง นำกลับมาลอยซ้ำโดยที่ไม่สร้างขยะในลำน้ำต่อไป และยังใช้วิธีเช่าแทน รายได้นำเข้ามูลนิธิฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างงานคนเก็บขยะต่อไป

Won Phen ผลิตมาจากขยะพลาสติกเบอร์ 5 ซึ่งเป็นขวดแชมพู ฝาขวดน้ำ และพลาสติกเบอร์ 2 กล่องพลาสติกบรรจุอาหารที่ใส่ไมโครเวฟได้ พลาสติกสองชนิดนี้มีความเหนียวและทนทาน นำมาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่ ทำเป็นรูปกระทง และมีพื้นที่สำหรับใส่เทียน โดยได้เตรียม “ Won Phen” ไว้จำนวน 700-1,000 ใบ สำหรับผู้ไปลอยกระทง ณ งานลอยกระทง ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ที่บูทสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเวลา 16.00 – 22.00 น. ค่าเช่ากระทงใบละ 59 บาท ซึ่ง “Won Phen”จะนำไปลอยในแหล่งน้ำแบบปิด ห้ามนำลอยในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อลอยเสร็จแล้วจะมีเจ้าหน้าที่เก็บกลับมาทำความสะอาด แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำวนไป

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้นำเสนอลอยกระทงจาน มีที่มาจากถิ่นเมืองด้ง ต.บ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาจัดแสดงผลงานเกี่ยวกับ “ประเพณีลอยกระทงสร้างสรรค์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ วัดอรุณราชวราราม โดยทุกคนสามารถนำกระทงจานไปลอยได้ฟรี ในแหล่งน้ำแบบปิดที่ทางผู้จัดงานเตรียมไว้ให้

รศ.ดร.เปรม สวนสมุทร รองผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ  เปิดเผยว่าสถาบันไทยศึกษากำลังจัดทำข้อมูลประเพณีลอยกระทง เพื่อนำเสนอต่อการพิจารณาของยูเนสโก ให้ประเพณีลอยกระทงถูกบรรจุเป็นมรดกโลก ซึ่งการสืบสานประเพณีต้องสอดคล้องกับเรื่องความยั่งยืน อันเป็นเทรนด์ของโลก ดังนั้นจะต้องส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมลอยกระทงรักษ์โลก ซึ่งไอเดียการลอยกระทง “Won Phen กระทงไร้ขยะ ใช้ซ้ำไม่รู้จบ” เปิดตัวเป็นปีแรก และหวังว่าจะได้รับเสียงตอบรับจากประชาชน ขณะเดียวกัน “กระทงจาน” ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับประเพณีลอยกระทง ที่ไม่สร้างขยะให้กับแหล่งน้ำ อยู่ในบ่อระบบปิด ที่ผู้จัดงานสามารถเก็บกลับขึ้นมาใช้ซ้ำได้ทุกปี

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า