รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
21 พฤศจิกายน 2567
ข่าวสด
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานสัมมนา “iTIC Forum 2024: Safe & Smart Mobility by Traffic Discipline” เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการพัฒนาวินัยจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนนจากผู้เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างวินัยจราจร ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของระบบการเดินทางในประเทศ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ใช้ในการตรวจจับพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น การไม่สวมหมวกนิรภัย จะช่วยลดอุบัติเหตุและสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความปลอดภัย งานสัมมนานี้เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางที่สามารถเป็นต้นแบบให้แก่การพัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะของไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดปัญหาการจราจร แต่ยังมีเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาช่วยจัดการและป้องกันปัญหาในอนาคต”
คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย เปิดเผยว่า การนำระบบ AI มาช่วยในการจัดการจราจรมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากการตรวจจับด้วยสายตามนุษย์นั้นไม่ทันต่อเหตุการณ์ และการบันทึกข้อมูลเป็นเวลานานยังเป็นไปได้ยาก การสัมมนาครั้งนี้เน้นเรื่องการตรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย โดยใช้ AI เชื่อมต่อกับกล้อง CCTV ในบริเวณจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จะสามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างละเอียด ช่วยเสริมการตรวจจับที่แม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยี AI ในการจัดการจราจร โดยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นที่เทศบาลขอนแก่นและพัทยาเป็นที่แรก
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้