จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ ชวน ‘กินอาหารเป็นยา’ นวัตกรรมสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน

รศ.ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า“อาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารเป็นยา” คืออาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ และสมุนไพร หรือวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ไม่เพียงเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนแต่เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประเทศด้วย ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำด้านการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ มีภูมิปัญญาด้านอาหาร สมุนไพรและการเกษตร มีงานวิจัยและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระบวนการผลิตอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรค ผู้บริโภคปรุงอาหารเป็นยาเองได้ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยยึดหลักการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ สมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ ที่สำคัญอาหารนั้นต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนสารพิษ อาหารเป็นยาเหล่านี้สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

รศ.ดร.กิติพงศ์ยกตัวอย่างอาหารเป็นยา เช่น  กระเทียม สามารถช่วยลดระดับไขมัน LDL (หรือไขมันเลว) ในเลือดได้ ปลาทะเล สามารถลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ประมาณ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่ไม่บริโภคปลาทะเล อะโวคาโด สามารถช่วยลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โยเกิร์ต สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 4% เป็นต้น

อาหารเป็นยาหรืออาหารฟังก์ชัน (functional food) เป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่อาจเติมหรือเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต อาหารประเภทนี้ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น แต่มีงานวิจัยสนับสนุนว่ามีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ทำหน้าที่ได้เป็นปกติ หรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน อย่างที่มีเครื่องดื่มช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด หรืออาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีบริการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การตรวจสอบคุณภาพอาหาร การถนอมอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยปัจจุบันมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมจริง สนใจข้อมูลหรือบริการให้คำปรึกษา ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2218-5515-6 หรือ Facebook : FoodTech Chula: https://www.chula.ac.th/news/175590/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า