รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
13 เมษายน 2568
โพสต์ทูเดย์
อ.ดร.รวิวรรณ กฤษณานุวัตร์ ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า เรดอน (Radon) เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่อยู่ในเปลือกโลก เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการสลายตัวของแร่ยูเรเนียมในดินและหิน โดยปกติจะฟุ้งกระจายผ่านรอยร้าวของพื้นดิน รอยแยกในอาคารและพื้นบ้านเข้าสู่บรรยากาศ โดยมีคุณสมบัติไม่มีสี กลิ่น หรือรส ทำให้มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรง ก๊าซชนิดนี้กลับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด โดยถือเป็นสาเหตุอันดับสองรองจากการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรตื่นตระหนกหรือหวาดกลัวต่อก๊าซเรดอนจนเกินควร เนื่องจากโรคมะเร็งปอดนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ไม่ใช่เพียงก๊าซเรดอนเพียงอย่างเดียว
ระดับความเข้มข้นของก๊าซเรดอนที่เข้าสู่อาคารนั้นแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุและระดับความสูงของพื้นที่ ภายในอาคาร โดยพื้นที่ชั้นล่างที่อยู่ติดกับพื้นดินมักมีค่าความเข้มข้นสูงกว่าชั้นบน แม้แต่ในพื้นที่เดียวกัน ปริมาณก๊าซเรดอนที่ระดับพื้นดิน ใต้ดิน หรือที่ระดับชั้นต่างกันของอาคารก็มีปริมาณแตกต่างกัน ชั้นล่างของบ้าน ดังนั้น หากตามพื้นที่มีรอยแตก รอยต่อ อาจทำให้ก๊าซเรดอนสามารถแพร่เข้ามาได้ในอาคารบ้านเรือนได้
ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีเครื่องวัดปริมาณของก๊าซเรดอนที่ทันสมัยและ ครบครัน เป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่มีระบบสอบเทียบความเข้มข้นกัมมันตภาพของเรดอน พร้อมให้บริการตรวจวัดปริมาณเรดอนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการให้บริการการตรวจวัดปริมาณก๊าซเรดอนในอาคาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและคลายความวิตกกังวลแก่ประชาชน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้