รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
14 เมษายน 2568
ไทยโพสต์
กรณีอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ขนาดความสูงถึง 30 ชั้นพังถล่มจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงเพราะเป็นอาคารของหน่วยงานรัฐเท่านั้น ที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างสูงกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ยังนำไปสู่การสูญเสียของคนงานก่อสร้าง ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงนำมาซึ่งข้อสงสัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานวัสดุก่อสร้าง การว่าจ้างผู้รับเหมา รวมถึงการเปรียบเทียบกับอาคารอื่นที่กำลังก่อสร้างในบริเวณเดียวกันแต่กลับไม่ได้รับความเสียหายหรือเสียหายน้อย ประเด็นสำคัญที่สังคมอยากรู้คือ “ใครต้องรับผิดชอบ?” และ “ความรับผิดชอบนั้นครอบคลุมเพียงใด?”
โครงการก่อสร้างของรัฐโดยทั่วไปมิได้อาศัยเพียงผู้รับเหมารายเดียว แต่เกี่ยวข้องกับสัญญาหลายฉบับที่มีบทบาทแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงจัดเสวนาเรื่อง “หนึ่งความเสียหาย หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง: สำรวจสัญญาก่อสร้างภาครัฐ” ไขปมความซับซ้อนของสัญญาในโครงการก่อสร้างภาครัฐ เจาะลึกสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของแต่ละฝ่ายตามสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ 1.สัญญาจ้างออกแบบ 2.สัญญาจ้างควบคุมงาน และ3.สัญญาจ้างก่อสร้าง
งานเสวนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ณ ห้อง ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเสวนา ได้แก่ ศ.ดร.ทศพล ปิ่นแก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นายนรินทร์ เยี่ยมสมบัติ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ดำเนินรายการโดย อ.ศรัณย์ พิมพ์งาม ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การพิจารณากรณีอาคาร สตง. ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว เหตุการณ์นี้ถือเป็นเหตุสุดวิสัยตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพิจารณาความรับผิดของคู่สัญญาในสัญญาก่อสร้าง โดยในทางกฎหมาย เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แม้จะมีการระมัดระวังตามสมควรแล้ว หากเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นจะส่งผลให้ลูกหนี้ (ผู้รับจ้าง) อาจไม่ต้องรับผิดในการไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้ เช่น ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนด หรือผลงานชำรุดเสียหายโดยไม่ใช่ความผิดของตน
กรณีอาคาร สตง. ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ หากท้ายที่สุดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าความเสียหายเกิดจากความบกพร่องในขั้นตอนใด เช่น การออกแบบ การควบคุมงาน หรือการก่อสร้าง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสัญญาอื่นๆ เช่น สัญญาประกันภัย หรือความรับผิดของผู้ออกแบบและผู้ตรวจสอบอาคาร (Checker) ประเด็นเหล่านี้อาจนำไปสู่การทบทวนข้อกำหนดในสัญญา และแนวทางการควบคุมมาตรฐานอาคารในอนาคตให้รัดกุมมากขึ้น
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้