จุฬาฯ เผยไวรัสโควิด-19 ในไทย มีอายุสั้นกว่าประเทศเขตหนาว

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระจายอยู่ทุกทวีปทั่วโลกในเวลานี้ ยังคาดการณ์ระยะเวลาไม่ได้ว่าจะหยุดการแพร่ระบาดเมื่อไหร่ เพราะคนตกเป็นพาหะการแพร่กระจาย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่ ที่ตรวจดูพัฒนาการของไวรัสชนิดนี้ ยังไม่พบพัฒนาการเชื้อชนิดนี้อีกขั้น ซึ่งอาจจะหยุดอยู่แค่การการระบาดในมนุษย์
นักเทคนิคการแพทย์หญิงสุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยการศึกษาพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า ยังไม่พบการพัฒนาของรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อให้กระจายจากมนุษย์สู่สัตว์อีก และสภาพอากาศในประเทศไทยที่เป็นประเทศเขตร้อน ทำให้ไวรัสที่แพร่กระจายอยู่นอกร่างกายมนุษย์ มีอายุสั้นกว่า ประเทศเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นักเทคนิคการแพทย์หญิงสุภาภรณ์ เป็นผู้ค้นพบการแพร่เชื้อไวรัสในค้างคาวครั้งแรกของโลกโดยวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเชื้อโคโรนาไวรัส พบว่าใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่พบในตัวค้างคาวมงกุฏเทาแดง 96 % ตัวลิ่น 90 %
แต่ลักษณะการระบาดของโควิด-19 คล้ายกับโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น อีโบล่า เมอร์ส และซาร์ส ที่จัดอยู่ในโรคอุบัติใหม่ที่มีสัตว์เป็นแหล่งนำโรค รวมทั้งพิษสุนัขบ้าก็เป็นโรคจากสัตว์สู่คน โดยโรคระบาดจะมีเวลาการแพร่กระจายก่อนจะถูกควบคุมได้ในที่สุด
ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ กำลังศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส “นิป้าห์” เพราะไทยมีความเสี่ยงจะเกิดการระบาดของโรคไวรัสนิปาห์ หากคนสัมผัสกับฉี่หรือน้ำลายค้างคาวโดยตรง หรือสุกรที่ได้รับเชื้อจากสิ่งคัดหลั่งของค้างคาวและแพร่มาสู่คน ในอดีตเคยพบการแพร่ระบาดในคนมาแล้วแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/120634

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย