รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
7 ตุลาคม 2563
สยามรัฐ
ส่งเสริมให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของคนไทยสู้วิกฤต เพิ่มช่องทางทางเศรษฐกิจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563
5 ต.ค.63 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้จัดงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาแห่งชาติด้านนวัตกรรม ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมของประเทศ ทั้งนี้ นวัตกรรม ถือเป็นกุญแจหลัก ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างโอกาสใหม่ๆ ในทุกมิติของคนไทย ตนเชื่อมั่นว่า การจัดงาน วันนวัตกรรมแห่งชาติ จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ที่จะสร้างความตระหนัก ผลักดัน และกระตุ้นให้เกิดการคิด พัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมของคนไทย อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
ดร.เอนก กล่าวอีกว่า อว.เป็นหน่วยงานที่จะนำความรู้และพลังไปช่วยประชาชนโดยใช้ทั้งทรัพยากรบุคคล ความรู้จากการวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ไปช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้มีการพัฒนาสมรรถนะภาคธุรกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น โดยต้องสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีขีดความสามารถเพียงพอในการพัฒนาประเทศ เมื่อภาคธุรกิจและสังคมเข็มแข็งจะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามลำดับ สามารถนำผลการวิจัยและนวัตกรรมต่างไปใช้สนับสนุนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และเข้าถึงประชาชนทุกระดับ พร้อมยกระดับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมให้เกิดครอบคลุมในวงกว้าง เพื่อช่วยประชาชน สังคม และภาคธุรกิจ NIA จึงเป็นหน่วยงานหลักของ อว. ที่ดูแลการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับประเทศ โดยมีภารกิจในการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้ามาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งมีการผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ไปใช้ในทุกระดับเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ด้าน ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า NIA จัดงานวันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ในครั้งนี้ เพื่อประกาศเกียรติคุณและ เชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นในหลากหลายด้าน สร้างให้เกิดคุณค่าที่ชัดเจนทั้งระดับ องค์กร ระดับประเทศและระดับโลก ตอกย้ำการแสดงศักยภาพนวัตกรรมไทยสู้วิกฤต เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมในหลากหลายด้านร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม ได้แก่ กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อสร้างให้เกิดความตื่นตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายด้านขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยคนไทย เพื่อคนไทย และคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นวัตกรรมเพื่อรับมือวิกฤต ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อันเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยป้องกันการเกิดปัญหา หรือแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นโดยเร็วที่สุด ลดผลกระทบและความเสียหายในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุด
สำหรับผลการประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ 2563 มีดังนี้
1. รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประเภทองค์กรขนาดใหญ่ รางวัลเกียรติคุณ ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) , ประเภทวิสาหกิจขนาดกลาง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : เครื่องทำน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ PAC Frenergy โดย บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด,ประเภทวิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : คอนกรีตแอโนด โดย บริษัท ไทยมารีนโพรเทคชั่น จำกัด
2.รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภทหน่วยงานภาครัฐ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ประเภทหน่วยงานภาคเอกชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : โครงการจระเข้ : ระบบทำความเย็นคาร์บอนไดออกไซด์ แบบเหนือจุดวิกฤติในประเทศเขตร้อนชื้น โดย บริษัท ไอ.ที.ซี. (1993) จำกัด , ประเภทองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : การเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน โดย บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
3.รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : นวัตปะการัง โดย ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการอนุรักษ์แนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา , ประเภทการออกแบบบริการ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : ดม (DOM) ระบบตรวจวัดและเฝ้าระวังกลิ่นแบบครบวงจร โดย ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี บริษัท เอสซีจีแพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)
4.รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านสื่อและการสื่อสาร ประเภทผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : นิวนอร์มอลสื่อสารรูปแบบอีเวนต์บนโลกเสมือนจริง โดย บริษัท เดอะ ไวท์ เลเบิลส์ จำกัด , ประเภทผู้สื่อสารนวัตกรรม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
5.รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทองค์กรขนาดใหญ่ รางวัลดีเด่น ได้แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ประเภทองค์กรขนาดกลาง รางวัลดีเด่น ได้แก่บริษัท ไทยเทคโนกลาส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
6.รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรี หรือ ปวส. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : เนื้อเทียม วีแก้นเสริมโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสท โดยมหาวิทยาลัยรังสิต , ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน low-cost ventilator สำหรับผู้ป่วยในที่ห่างไกล โดยโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา
7.รางวัล NIA Creative Contest 2020รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ ผลงาน The SIAM ปฏิบัติการกวาดล้างศัตรูพืช โดยทีมคุณเขียว โปรดักชั่น 8.รางวัลนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน : รู้จริงเศรษฐกิจไทย โดย บริษัท เมโมกราฟฟิค จำกัด
ที่มา : https://siamrath.co.th/n/187432
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้