จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ชูงานวิจัยมูลค่าแบรนด์องค์กร ตัวอย่างนวัตกรรมสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชูนโยบายขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่ “มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนระดับโลก” เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

            นอกจากโครงการสำคัญของจุฬาฯ ที่ขับเคลื่อนสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น วัคซีนโควิด-19 สุนัขดมกลิ่นโควิด-19 หุ่นยนต์ทางการแพทย์ และ Start-up จำนวนมากแล้ว โครงการวิจัยหนึ่งที่โดดเด่นอย่างยิ่งในทางบริหารธุรกิจ คือ การวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรทั่วทั้งประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 13 ปี

         ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของจุฬาฯ ที่ได้ดำเนินนโยบายและพัฒนาตามเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) หรือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ขององค์การสหประชาชาติ  งานวิจัยเรื่อง Asean and Thailand’s Top Corporate Brands ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย ศ.ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล แห่งภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นงานวิจัยตัวอย่างที่สร้างผลกระทบต่อสังคมอย่างสูง และสอดคล้องกับ SDG 8 ที่ครอบคลุมไปถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจธุรกิจ

            อธิการบดีจุฬาฯ  กล่าวเพิ่มเติมว่าความสำเร็จของงานวิจัยเรื่องการวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรคือการที่ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรทั่วทั้งภูมิภาคมาร่วมกิจกรรมและรับรางวัลด้วยตัวเอง ในทางวิชาการนั้นงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติ ด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อปี. 2557 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพของงานวิจัยได้เป็นอย่างดี และแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่างานวิจัยที่มีคุณภาพทางสังคมศาสตร์ของจุฬาฯ นั้นสามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่สังคมได้อย่างแท้จริง

            “จุฬาฯ ได้ดำเนินโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับ SDGs ทั้ง 17 ข้ออย่างต่อเนื่อง โดยได้รวบรวมผลงานวิจัยนวัตกรรมและโครงการต่างๆ ของจุฬาฯ ที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ในเว็บไซต์  http://www.sustainability.chula.ac.th/ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เพื่อติดตามผลงานความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของจุฬาฯ ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า