รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
30 พฤษภาคม 2565
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ จัดสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ผ่านอุปกรณ์วีอาร์โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาสถานที่จริง อีกทั้งต่อยอดความรู้ในการสร้างโลกเสมือนจริงที่ช่วยในการดำเนินกิจการในภาครัฐวิสาหกิจ และด้านสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส
รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า การสร้างหอประวัติจุฬาฯ บนโลกเสมือนจริงสามมิติ เป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อดำรงคุณค่าและเพิ่มมูลค่าทางด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบเมตาเวิร์ส ขนาดเล็กแห่งแรกๆ ของประเทศที่มีประโยชน์และใช้งานได้จริง นอกจากนี้ ในมิติของสุขภาพในยุคเมตาเวิร์ส คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับศูนย์ดูแลสภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย บูรณาการนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์ ด้วยการสร้างเกมส์ในโลกเสมือนจริงสำหรับบำบัดผู้สูงวัยที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยให้สามารถชะลอการดำเนินของโรคภาวะการรู้คิดถดถอยที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ในอนาคต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ริเริ่มโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ครอบคลุมองค์ความรู้หลากหลายมิติ หนึ่งในรายวิชาที่น่าสนใจคือ “เทคโนโลยีเมตาเวิร์สและการประยุกต์ใช้” ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับผู้สนใจแต่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเมตาเวิร์สให้มีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน และพร้อมต่อยอดไปสู่การสร้างเมตาเวิร์สที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้