จักรยานยนต์รับจ้าง เส้นเลือดฝอยของคนเมือง

อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยภายใต้แผนงานคนไทย 4.0 ด้วยการสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการศึกษาโครงการคนเมือง 4.0 : อนาคตการเดินทางของคนเมืองในเมืองหลักภูมิภาคของประเทศไทย พบว่าจักรยานยนต์รับจ้างเป็นทางรอดเดียวของระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของเมืองที่ต้องการเส้นเลือดฝอยมารองรับ หากปราศจากคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง กรุงเทพฯจะเป็นอัมพาตทันที ผลการวิจัยพบว่าปัจจุบันผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพฯ มีเกือบ 2 แสนคน จักรยานยนต์รับจ้างทั้งหมดวิ่งรับส่งจำนวน 2 – 3 ล้านเที่ยวต่อวัน การบูรณาการจักรยานยนต์รับจ้างเป็นระบบขนส่งรองของระบบขนส่งมวลชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้แก่ระบบขนส่งมวลชน การพัฒนาการให้บริการของจักรยานยนต์รับจ้างให้มีคุณภาพทั้งในด้านราคา การบริหารจัดการ และความปลอดภัย จึงเป็นคำตอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืนในภาคมหานคร ทุกวันนี้จักรยานยนต์จึงไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะในการเดินทางเท่านั้น แต่กำลังกลายเป็น “กองทัพมด” ที่สนับสนุนเศรษฐกิจเมืองยุคใหม่ ท่ามกลางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจแบ่งปัน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย