จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ ผุด ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “จุลินทรีย์ขจัดคราบน้ำมันในทะเล”

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยจุลินทรีย์กินน้ำมัน พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล พร้อมต่อยอดสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืนของระบบนิเวศ

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคโนโลยีจุลินทรีย์เพื่อการบบัดมลพิษทางทะเล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.อรฤทัย ภิญญาคง  ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเล โดยมุ่งให้เกิดการผลิตในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต

รศ.ดร.อรฤทัยกล่าวว่าจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นจุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาจากธรรมชาติ ซึ่งจะใช้ขั้นตอนเฉพาะทางในการคัดเลือก โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีแหล่งอาหารคือสารมลพิษต่างๆ ซึ่งสารมลพิษเหล่านี้อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ แต่จุลินทรีย์นี้มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสารมลพิษเหล่านั้นและนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานโดยที่ไม่เป็นพิษกับตัวมันได้ รวมถึงจุลินทรีย์ที่ช่วยในการปกป้องจุลินทรีย์ด้วยกัน เช่น จุลินทรีย์ที่สร้างฟิล์มชีวภาพ (biofilm) หรือจุลินทรีย์ที่สร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (bio-surfactant) เพื่อทำให้จุลินทรีย์สามารถเข้าถึงมลพิษได้ง่ายขึ้น   ส่วนใหญ่แล้วจะพบจุลินทรีย์เหล่านี้ได้ตามแหล่งที่เคยมีการปนเปื้อนมลพิษนั้นๆ หรือในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ยกตัวอย่างเช่น ตะกอนจากทะเล ตะกอนจากป่าชายเลน น้ำหรือดินที่ปนเปื้อนปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน

หลังจากที่ได้จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสารพิษ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าจุลินทรีย์กินน้ำมัน ขั้นตอนต่อไปก็คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความพร้อมสำหรับการใช้งาน โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้จากห้องปฏิบัติการมีอยู่ 3 รูปแบบหลักๆ คือ 

ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์พร้อมใช้แบบสูตรน้ำ

ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์อัดเม็ด

 – ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่ตรึงบนวัสดุดูดซับ

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตอบรับและสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งจากภาครัฐและเอกชน หากผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อแก้ปัญหาและขจัดคราบน้ำมันปนเปื้อนในทะเลของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ    จะสามารถพัฒนาขึ้นไปสู่การผลิตและการใช้จริงในเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น BCG Economy และใช้เทคโนโลยีที่สะอาดอย่างแท้จริง ซึ่งทางคณะผู้วิจัย ก็พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับนักลงทุนและผู้ที่สนใจมาร่วมมือและพัฒนาต่อยอดในอนาคต

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า