รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
19 กรกฎาคม 2565
ไทยรัฐ
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกาว่าเกิดจากนโยบายประชานิยม ลด แลก แจก แถมมากเกินไป “วิกฤติซับไพรม์ หรือวิกฤติหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub–Prime Crisis) ในสหรัฐอเมริกา” เมื่อปี 2009 ส่งผลให้เม็ดเงินจากสหรัฐฯและยุโรปไหลมาลงทุนในทวีปเอเชียใต้ ในขณะนั้นประเทศศรีลังกาถูกมองว่า เศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตไปได้ไกล จากการที่ประเทศตั้งอยู่จุดกึ่งกลางระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ทำให้ศรีลังกามีแนวเส้นทางการค้าขายทั้งยุโรปและเอเชีย ศรีลังกาเผชิญกับปัญหาการเมืองผูกขาด ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลที่บริหารประเทศ ส่งผลให้โครงการพื้นฐานทั้งหลายที่ควรได้ใช้ประโยชน์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศให้ดีขึ้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เงินส่วนใหญ่ถูกนำมาเก็งกําไรในตลาดหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อาคาร เหตุปะทุก่อวิกฤติเศรษฐกิจในศรีลังกามาจากในปี 2019 ได้เกิดเหตุก่อการร้ายหลายจุดในกรุงโคลัมโบในช่วงประชาชนร่วมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เหตุการณ์นี้กระทบต่อภาพลักษณ์ ทำลายการท่องเที่ยวอันเป็นแหล่งรายได้หลักสำคัญพังยับเยินในปีนั้นรัฐบาลราชปักษาออกนโยบายประชานิยมสุดขั้วหาเสียง คนศรีลังกา 1 ใน 3 ของประเทศไม่ต้องเสียภาษีกระทบต่อรายรับรัฐจัดเก็บภาษีลดลง 35% ส่วนคนร่ำรวยเดิมเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าตามรายได้ก็ถูกยกเลิกและลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงเหลือ 8% ทางออกสุดท้ายคือการพิมพ์เงินเพิ่ม ผลตามมาคือพิมพ์เงินออกมาจนล้นระบบ เป็นที่มาภาวะเงินเฟ้อรุนแรง คาดว่าปลายปีนี้รัฐบาลศรีลังกาน่าจะมีภาระต้องจ่ายคืนหนี้สาธารณะ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เกิดการล่มสลายของนโยบายการเงินและการคลัง การที่นักลงทุนถอนเงินออกจากประเทศทำให้เงินทุนสำรองเริ่มหายไปเรื่อยๆ ประกอบกับภาวะ โควิด-19 ระบาดหนัก จนกระทบต่อการท่องเที่ยว อีกทั้งผลผลิตการเกษตรก็ตกต่ำจนต้องนำเข้าอาหาร จึงทำให้ศรีลังกาไม่มีเงินทุนสำรอง คนไม่มีงาน ภาวะเงินเฟ้อสูง ขาดแคลนไฟฟ้าและอาหาร ส่งผลให้เศรษฐกิจล่มสลายอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้