จุฬาฯ ในสื่อ

วช.หนุนทีมนักวิจัยจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้เห็ดเผาะเพื่อฟื้นฟูป่า

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนวิจัยในโปรแกรมโจทย์ท้าท้ายด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ให้ “โครงการบูรณาการของการใช้เห็ดเผาะเพื่อฟื้นฟูป่าและลด PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาป่าในบริเวณพื้นที่รอยต่ออุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน” ซึ่งมี ผศ.ดร.จิตรตรา เพียภูเขียว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าทีมวิจัย เพื่อลดอัตราการสูญเสียของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และแก้ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาป่าของชาวบ้านในพื้นที่เขตอุทยานและบริเวณใกล้เคียง

การเผาป่าจะทำลายเส้นใยเห็ดเผาะที่อยู่กับรากพืชใต้ดิน รวมถึงพืชซึ่งเป็นที่อาศัยของเห็ดเผาะ จึงเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อต้นไม้และระบบนิเวศในพื้นที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญจำนวนและชนิดของเห็ดป่าต่าง ๆ รวมทั้งเห็ดเผาะลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทีมวิจัยจึงศึกษาการฟื้นฟูป่าชุมชนที่เสื่อมโทรมโดยใช้ราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะ และเพิ่มผลผลิตของเห็ดเผาะได้โดยไม่ต้องเผาป่า เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมา รวมถึงการปลูกป่าไม้พื้นถิ่นวงศ์ไม้ยาง เพื่อป้องกันการบุกรุกป่าอนุรักษ์ของอุทยานในอนาคต   โดยราไมคอร์ไรซาเห็ดเผาะจะช่วยกระตุ้นการเจริญและการอยู่รอดของต้นกล้า เพื่อเป็นแปลงต้นแบบในการสร้างและใช้ประโยชน์จากป่าทั้งทางด้านอาหารและรายได้อย่างยั่งยืน

ผศ.ดร.จิตรตรา  กล่าวว่า ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยในโครงการนี้ และงานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้ถูกนำไปถ่ายทอดสู่ชุมชนผ่านการอบรม “ปลูกป่ายังไง ให้ได้กินเห็ด” โดยได้รับการสนับสนุนจากชมรมผู้ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล มีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 50 คน ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้าน โดยเฉพาะเกษตรกรในตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รวมถึงคุณครูจากตำบลใกล้เคียงเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ชุมชนของตนเองต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า