รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
3 ตุลาคม 2565
Workpointtoday
หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดงาน “Inspired Research Talk” ในหัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old)…โอกาสบนโลกดิจิทัล” เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจสู่การสร้างสังคมสูงวัยบนโลกดิจิทัลให้กับผู้สูงวัยและเจนเนอเรชันเอ็กซ์ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงวัย รวมทั้งเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงวัยฐานวิถีชีวิตใหม่ที่มีโอกาสมากมายรอให้ทุกคนได้ไขว่คว้าบนโลกดิจิทัลโดยไม่มีขีดจำกัดด้านอายุ
ภายในงานมีการปาฐกถาเกี่ยวกับสังคมสูงวัย และกิจกรรม Inspired Research Talk หัวข้อ “ยังโอลด์ (Young-Old) …โอกาสบนโลกดิจิทัล” โดยวิทยากรต่างรุ่นวัยจากหลายแพลตฟอร์มผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้สูงวัยที่ยังคงเปี่ยมล้นด้วยศักยภาพให้ยังคงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่มีคุณค่าและแข็งแกร่งในการพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมไทยบนโลกดิจิทัล
เริ่มต้นด้วยนายเกรียงไกร ช่วยดำรงสกุล วิศวกรโยธา เจ้าของยูทูบช่อง “คุยกับลุงช่าง” ได้พูดคุยบอกเล่าประสบการณ์ จากสายงานอาชีพวิศวกร สู่การสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ นางมะลิ สีดี แม่ค้าผ้าไหมเพจ ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์ ที่สร้างรายได้จากการขายผ้าไหมออนไลน์ในเฟซบุ๊คจนประสบความสำเร็จ รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อ ทุกคน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เพื่อ สุขภาวะการอยู่อาศัยของผู้สูงวัย โดยชวนทุกคนร่วมออกแบบพื้นที่เพื่อ กาย ใจ และสังคม นางสาวชลิพา ดุลยากร ตัวแทนของติ๊กต็อกเกอร์ต่างรุ่นวัย “Rungrangdiary” เป็นตัวแทนคุณย่ากระต่ายวัย 83 ปี มาเล่าเรื่องราวของคุณย่ากระต่ายและน้องๆ ที่กลายเป็นดาวติ๊กต็อก จนกลายเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเชื่อมคนต่างวัยในบ้านให้เข้ามาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ปิดท้ายด้วยการพูดคุยกับ เบ้นซ์ นายณัฐพงศ์ ผาทอง นักแสดง จาก Series เรื่อง EN Of Love รักวุ่น ๆ ของหนุ่มวิศวะ ตอน เหนือพระราม เกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการสานสัมพันธ์ในครอบครัว
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้