รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
4 ตุลาคม 2565
EDUZONES
จุฬาฯ วิจัยหนุน “สระบุรีพรีเมียมมิลค์” ต้นแบบธุรกิจเพื่อเกษตรกรโคนมไทยแข่งขันในตลาดโลก เพิ่มทางรอดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมพัฒนาและผลิตน้ำนมคุณภาพสูง ผันตัวเป็นผู้ประกอบการ แก้ปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดสระบุรีเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง สามารถแข่งขันได้กับตลาดโคนมในต่างประเทศ
รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร และ ผศ.น.สพ.ธนศักดิ์ บุญเสริม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เผยถึงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตน้ำนมโคของประเทศไทยที่ จ.สระบุรี เพื่อรองรับภาวะคุกคามของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในปี 2568 และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ด้วยการชูจุดเด่นในเรื่องความสดใหม่และคุณภาพของน้ำนมสดระดับพรีเมียม ซึ่งเป็นที่มาของโครงการวิจัย “การพัฒนาต้นแบบเชิงธุรกิจการเกษตรน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมพรีเมียม จังหวัดสระบุรี” โดยทีมวิจัยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (mentor) คอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยในจังหวัดสระบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพน้ำนม รวมถึงการพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ จนสามารถเกิดต้นแบบธุรกิจฟาร์มที่มีศักยภาพในการผลิตน้ำนมระดับพรีเมียม และเกิดแบรนด์สินค้าผลิตภัณฑ์นมแปรรูปของฟาร์มเกษตรกรถึงสามแบรนด์ ซึ่งมีความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับในคุณภาพของน้ำนม ได้แก่ เพชรพนามิลค์ นมจากฟาร์มที่มีการเลี้ยงโคนมด้วยหญ้าสดคุณภาพดี NP Dairy นมจากฟาร์มโคนม zero waste ที่มีการจัดการของเสียในฟาร์มแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) และ Be More Milk นมจากฟาร์มโคนมอินทรีย์ที่ผ่านการรับรอง
โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้นของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เกษตรกร
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้