รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
7 ตุลาคม 2565
กรุงเทพธุรกิจ
NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ แนะผู้สนใจและนักลงทุนกับสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทนี้ให้ทำความรู้จักให้ดีก่อนว่า NFT คืออะไร มีความแตกต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นอย่างไร ที่สำคัญมีข้อควรระวังอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงให้ลงทุนออนไลน์
NFT มาจากคำว่า Non-Fungible Token คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่แต่ละโทเคนหรือแต่ละเหรียญมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่สามารถแทนที่กันได้ NFT จัดเป็นสินทรัพย์ cryptocurrency ชนิดหนึ่ง แตกต่างจากสกุลเงินคริปโตที่รู้จักกันทั่วไป เช่น Bitcoin หรือ Eth ซึ่งเป็น Fungible Token หมายถึงสินทรัพย์ที่สามารถแลกเปลี่ยนหรือแทนที่กันได้ แม้ ID แต่ละเหรียญสกุลคริปโตจะต่างกัน แต่มูลค่าของเหรียญสกุลนั้น ๆ จะเท่ากันเสมอ สามารถทดแทนกันและกันได้ เหมือนการแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศทั่วไป
สินทรัพย์ดิจิทัล NFT แต่ละ ID จะสะท้อนลักษณะเฉพาะของ token นั้น ๆ โดยมีความเป็นต้นฉบับที่ตรวจสอบได้ จึงมักนำเอางานศิลปะในรูปแบบดิจิทัล ดนตรี ไฟล์ภาพและเสียง เกมดิจิทัล หรือกระทั่งที่ดินในโลกเสมือน (metaverse) มาทำเป็น NFT ซึ่งสามารถแสดงสิทธิ์ในการเข้าถึง token ได้เฉพาะเจ้าของ NFT นั้นๆ เท่านั้น โดยมีการบันทึกข้อมูลของเจ้าของกรรมสิทธิ์ลงใน Blockchain (ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์) อัตโนมัติทันที ไม่สามารถถูกแก้ไขได้ ทำให้ทราบโดยชัดเจนว่าใครคือเจ้าของ NFT ดังกล่าว
มูลค่าของ NFT ขึ้นอยู่กับอุปสงค์หรือความต้องการของคนซื้อ รวมถึงกระแสความนิยมหรือแฟชั่นที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น ๆ ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ แนะนำให้ผู้สนใจหรือนักลงทุนพิจารณา 2 ประเด็นก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อเพื่อถือครอง NFT ได้แก่ ความชื่นชอบงานชิ้นที่ถูกนำมาทำเป็น NFT นั้นจริง ๆ และมีความสุขในการถือครองหรือได้เสพ NFT ชิ้นดังกล่าว หากเป็นนักลงทุนเพื่อเก็งกำไร นอกจากจะต้องเห็นคุณค่าหรือให้คุณค่ากับ NFT ที่ได้ซื้อหรือลงทุนแล้ว นักลงทุนควรจะมีวิสัยทัศน์คาดการณ์ได้ว่าคนอื่นๆ เห็นหรือให้คุณค่ากับ NFT ที่คุณถือครองขนาดไหน NFT ชิ้นที่ควรลงทุนคือชิ้นที่คนอื่น ๆ จะมีความสุขเมื่อได้ถือครอง เช่นเดียวกับที่คุณรู้สึกและให้คุณค่า หากคาดหวังให้เกิดการซื้อขายหรือเพิ่มมูลค่าในอนาคต
ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่าโลกของ cryptocurrency นั้นไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยกฎหมายในปัจจุบัน หากผู้ลงทุนต้องการจะเข้าไปลงทุนจริง ๆ ควรต้องศึกษาให้มั่นใจก่อนว่ามีความปลอดภัยจริง ๆ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้