รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
17 ตุลาคม 2565
สยามรัฐ
น้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกอบอาหาร การเทน้ำมันพืชใช้แล้วลงท่อระบายน้ำโดยไม่มีบ่อดักไขมันจะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เกิดกลิ่นเหม็น เป็นปัญหากับการบำบัดน้ำเสีย ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง หรือน้ำรอการระบาย ส่วนการเทน้ำมันพืชใช้แล้วลงในถุงขยะพลาสติกและปนกับขยะทั่วไปในครัวเรือนจะเป็นปัญหาในการคัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ น้ำมันพืชใช้แล้วที่ปนเปื้อนขยะมูลฝอย เมื่อไปถึงหลุมฝังกลบ จะเกิดการย่อยสลายแบบไร้อากาศ ทำให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ส่งผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า
ดร.ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนาพันธ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัยแปลงน้ำมันพืชใช้แล้วให้เป็นสบู่เหลวโพแทสเซียม (K-Soap) ซึ่งมีคุณสมบัติของการเป็นสารลดแรงตึงผิว จึงสามารถขจัดคราบสกปรกต่าง ๆ บนพื้นผิวได้ดีเหมือนกับน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป จุดเด่นที่แตกต่างอย่างสำคัญคือ K-Soap มีความเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ต่ำ ทำให้ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ 100 % เมื่อเปรียบเทียบกับสารทำความสะอาดชนิดซัลเฟตที่ใช้กันทั่วไปในครัวเรือน นอกจากการทำความสะอาดแล้ว สบู่เหลวโพแทสเซียมยังตอบโจทย์ในการกำจัดปัญหาแมลงได้ดีและสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ถ่ายทอดวิธีการผลิต K-Soap ให้กับวิสาหกิจชุมชนบ้านไผ่เหลือง จ.น่าน ภายใต้โครงการ “เที่ยวน่าน ใส่ใจ ไร้คาร์บอน” โดยได้รับการงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ปีงบประมาณ 2564 รวมทั้งได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดวิธีการใช้ชุดแปรรูปน้ำมันพืชใช้แล้ว ในการผลิตสบู่แหลวโพแทสเซียมให้กับชุมชนปากลัด จ.สมุทรปราการ โดยร่วมมือกับโครงการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดปลอดขยะ (Zero-Waste) นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ พัฒนาสบู่เหลวโพแทสเซียมให้มีความสามารถในการเป็นสารจับใบ (เคลือบผิววัสดุของน้ำ) ใช้เสริมฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์ชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมโรคพืชและแมลงรบกวนในแปลงเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้