จุฬาฯ ในสื่อ

‘พิษตกค้าง!’โควิดซา ‘ภัยเนือยนิ่ง!!’ ร้ายจริง’ร้ายน่ากลัว!’

            ผลพวงจากโควิด-19 ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทำให้ผู้คนทุกช่วงวัยใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม พฤติกรรม “เนือยนิ่ง” ไม่ขยับร่างกายเป็นเวลานานย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สะท้อนจากงานวิจัยของ อ.ดร.วริศ วงศ์พิพิธ อาจารย์สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งกล่าวว่า ตามหลักวิชาการแล้ว ภาวะเนือยนิ่งหมายถึงพฤติกรรมการนั่งเอนหลังหรือการนอนอยู่บนเตียงขณะที่ตื่นนอนอยู่ รวมถึงภาวะที่ต้นขาอยู่ขนานกับพื้นขณะที่ตื่นนอน ซื่งทำให้ร่างกายมีการใช้พลังงานที่ค่อนข้างต่ำกว่าปกติ งานวิจัยเชิงการทดลองพบว่าหากเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตประจำวัน คนเราไม่ควรนั่งนานต่อเนื่องเกินกว่า 30 – 60 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเนือยนิ่งสะสม 

            ดร.วริศแนะนำว่า ระหว่างวัน หลังจากมีพฤติกรรมเนือยนิ่งต่อเนื่อง 30 นาที ควรมีการแทรกกิจกรรมทางกาย เช่น ยืน เขย่งขา ย่อตัวเมื่ออยู่ที่โต๊ะทำงาน โต๊ะเรียน หรือเดินเบาๆ เดินเร็วๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ มีการบีบและคลายตัว โดยแทรกกิจกรรมทางกายเพียง 1.5 – 3 นาทีเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และลดอัตราการตายก่อนวัยอันควร นอกจากนี้พฤติกรรมเนือยนิ่งต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดสารไคนูเรนีนในร่างกายและสมอง เมื่อมีการสะสมในปริมาณสูงจะนำมาซึ่งภาวะเครียดและซึมเศร้า ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้    

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า