จุฬาฯ ในสื่อ

การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน: กรณีศึกษาด้านการจัดการอาหารเหลือทิ้ง

รศ.ดร.ขนิษฐา แต้มบุญเลิศชัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญและการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโมเดลเศรษฐกิจ BCG

เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นรูปแบบการจัดการระบบเศรษฐกิจซึ่งมีการวางแผนให้ทรัพยากรในระบบสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิม และ/หรือนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากเศรษฐกิจเชิงเส้นตรง (Linear economy) ในปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้ทรัพยากรเพียงทางเดียว คือ การนำทรัพยากรจากธรรมชาติมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งาน และเมื่อหมดประโยชน์แล้วก็จะถูกนำไปทิ้งเป็นขยะ เป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ จะเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่จากรายงาน The Circularity Gap 2022 พบว่ากว่าร้อยละ 90 ของทรัพยากรที่นำมาใช้งานไม่ได้กลับคืนเข้าสู่กระบวนการผลิตแต่จะกลายเป็นขยะ และมีเพียงร้อยละ 8.6 ของเศรษฐกิจโลกเท่านั้นที่อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีเศรษฐกิจหมุนเวียน  จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ อุปสรรคสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดจากการที่โครงสร้างระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่จูงใจให้เกิดพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคที่เอื้อต่อการหมุนเวียนทรัพยากร เมื่อต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรแบบเส้นตรงถูกกว่าต้นทุนจากการหมุนเวียนทรัพยากร การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนจึงทำได้ยาก

การสร้างแรงจูงใจให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจำเป็นต้องมีการกำหนดกติกาต่างๆ ที่สนับสนุนทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งควรทำอย่างเป็นระบบและรอบด้าน ครอบคลุมผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และรวมถึงผู้บริโภค การจัดการวัสดุชีวภาพ เช่น อาหาร เพื่อให้เกิดการใช้งานทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดเป้าหมายการลดการสูญเสียอาหารในแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจน โดยกำหนดให้การลดการสูญเสียอาหารเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอาหาร (โดยเฉพาะรายใหญ่) สร้างแรงจูงใจให้เกิดการแจกจ่ายอาหารส่วนเกินให้แก่ผู้ยากไร้โดยการสร้างสื่อกลาง/ตัวกลางในการรับมอบอาหารส่วนเกินเพื่อส่งต่อ กำหนดเกณฑ์ด้านสุขอนามัยของอาหารที่นำไปบริจาค ส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดขยะอาหารผ่านการให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์แนวปฏิบัติต่างๆ และเมื่อเกิดขยะอาหารขึ้นแล้วควรส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะอาหารออกมา เพื่อที่จะนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้แล้วการส่งเสริมนวัตกรรมทั้งด้านรูปแบบธุรกิจและด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการหมุนเวียนทรัพยากรก็เป็นสิ่งสำคัญ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า