รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
22 ธันวาคม 2565
PPTV
“ขนมชั้นแห่งอนาคต” สูตรลดน้ำตาล เสริมใยอาหารและโพรไบโอติก ผลงานของทีมเลอชั้น ซึ่งประกอบด้วยนิสิตและศิษย์เก่าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน Future Food For Sustainability 2022 เมนูนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ใส่ในชะลอมสำหรับเสิร์ฟแก่ผู้นำและแขกผู้มีเกียรติ ในงานเลี้ยงรับรองของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอีกด้วย
ขนมชั้นแห่งอนาคต มีจุดเด่นดังนี้
ดีต่อกาย : ลดน้ำตาลลง 40% จากสูตรเดิม โดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะใช้เทคนิคการปรับโครงสร้างขนมให้มีชั้นหวานสลับชั้นจืด และอาศัยความหวานตกค้างจากชั้นหวาน ทำให้ลิ้นยังคงรับรสหวานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังเสริมใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติกในเนื้อขนม เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษในครัมเบิ้ลมะพร้าว และเสริมโปรตีนมะพร้าวในซอสมะพร้าวเข้มข้นอีกด้วย
ดีต่อใจ : ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวในสระโบกขรณีจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังมีกลิ่นรส รสชาติและเนื้อสัมผัสที่อร่อยและหลากหลายในจานเดียว เริ่มตั้งแต่เนื้อขนมชั้นที่นุ่มหนึบ หอมกลิ่นน้ำตาลสด เสริมด้วยซอสมะพร้าวเข้มข้นรสเค็ม-หวาน และครัมเบิ้ลมะพร้าวที่กรุบกรอบและหอมมันคล้ายมะพร้าวคั่ว ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัว และยังคงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างครบถ้วน
ดีต่อโลก : สีชมพูของดอกบัวได้มาจากสารสกัดของเปลือกผลแก้วมังกร ส่วนครัมเบิ้ลมะพร้าวถูกเตรียมจากผลพลอยได้จากการเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน จึงเป็นการนำ food waste มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น เมนูนี้ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยแก๊ส CO2 ได้มากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และใช้วัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย จึงช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยได้อย่างเต็มที่
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้