รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
27 ธันวาคม 2565
กรุงเทพธุรกิจ
เทคโนโลยีด้านเสียงก้าวไปอีกขั้นด้วยนวัตกรรม AI ปัญญาประดิษฐ์แยกแยะอารมณ์จากเสียงพูด ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ช่วยเสริมประสิทธิภาพงานขายและระบบบริการที่ต้องเข้าถึงใจลูกค้า มีทั้งหมด 5 อารมณ์คือ โกรธ เศร้า สุข หงุดหงิด และปกติ นับเป็นชุดข้อมูลแรกในการจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดในภาษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการพัฒนาโมเดลการรู้จำอารมณ์จากเสียงพูด และนำโมเดลนี้ไปประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ
ก่อนที่จะทำโมเดลจำแนกอารมณ์นั้นจำเป็นต้องมีคลังข้อมูลเสียงซึ่งศาสตร์ทางด้านการละครเข้ามาช่วยในการทำชุดข้อมูลดังกล่าว ผศ.ดร.ดังกมล ณ ป้อมเพชร ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ในการบันทึกเสียงเพื่อทำชุดข้อมูลนี้ ใช้นักแสดง 200 คน (ชาย 87 คน หญิง 113 คน) เป็นต้นเสียง สื่ออารมณ์ 5 แบบ ได้แก่ อารมณ์โกรธ เศร้า หงุดหงิด สุข และน้ำเสียงปกติ เสียงที่นำไปใช้งานได้จะต้องเป็นเสียงที่แสดงอารมณ์จริงเหมือนที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา หลังจากเก็บบันทึกเสียงนักแสดงทั้งหมดแล้ว ชุดข้อมูลเสียงจะถูกนำไปสร้างเป็นรูปแบบเสียงของอารมณ์ทั้ง 5 ประเภท เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโมเดลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูด ซึ่งมีความแม่นยำถึง 60 – 70%
อ.เอกพล ช่วงสุวนิช ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กว่าว่า ทีมวิจัยจะขยายผลพัฒนาประสิทธิภาพของระบบให้รายงานผลอารมณ์ด้วยความแม่นยำ ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย ในอนาคตมีแผนจะพัฒนาเพื่อนำไปใช้กับสายด่วนสุขภาพจิตสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า และนำไปพัฒนาเพื่อให้หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นหน้าคนขยับปากพูดได้ สามารถตอบสนองทางอารมณ์กับมนุษย์ได้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้