จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯร่วมกับ UCL พัฒนาแอปฯ ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด คัดกรองเบื้องต้นผู้สูงอายุเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมหรือไม่

“ภาวะสมองเสื่อม” มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย วิทยาการความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และนวัตกรรม ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ University College London (UCL) ได้พัฒนา Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด ทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่ ช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุซึ่งยังไม่สามารถรักษาให้หายได้

จากการเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 14 เรื่อง “บ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อมด้วยการใช้เทคโนโลยี Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ได้นำเสนอความก้าวหน้านวัตกรรมแอปพลิเคชันในการตรวจภาวะสมองเสื่อมจากเสียงพูดที่ได้ยิน วิเคราะห์การแปลผลทางด้านภาษาของสมองว่ามีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษสร้างเป็นแอปพลิเคชันครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมให้ดาวน์โหลดใช้งานง่ายได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้สำหรับทดสอบการรับรู้เสียงพูดเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะสมองเสื่อม เป็นการตรวจการได้ยินและความสามารถในการจับใจความจากจากคำพูดและประโยคที่เป็นภาษาไทย โดยใช้เทคนิคแบบ Virtual Reality (VR) โดยจำลองสภาพสถานการณ์จริงในการรับรู้เสียงที่เข้ามาจากทิศทางต่างๆ เพื่อตรวจดูการแปรผลของสมองด้านการใช้ภาษา ซึ่งจะเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะมีโอกาสเป็นสมองเสื่อมหรือไม่ ซึ่งดำเนินการผ่านโครงการ Transforming System through Partnership ภายใต้ทุนวิจัยนิวตัน (Newton Fund) ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยินคือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นการตรวจวัดความสามารถในการได้ยินด้วยภาษาไทย     ทำให้สามารถประเมินผลได้ดีที่สุด และมีใบรับรองจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าความร่วมมือในโครงการนี้มุ่งหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางห้องปฏิบัติการวิจัยของประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องการตรวจการได้ยินด้วยคำพูด เพื่อดูการแปลผลของสมองด้านภาษา การใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ผ่าน Mobile Application เพื่อใช้ทดสอบได้ทันทีด้วยตนเอง หากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะสมองเสื่อมก็สามารถติดต่อขอตรวจเพิ่มเติมได้ที่สถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่รับการทดสอบแล้วพบว่าประสบปัญหาทางด้านการได้ยินสามารถใช้สิทธิ์ในการเบิกเครื่องช่วยฟังได้ ดังนั้นอยากให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีข้อบ่งชี้จากแพทย์ว่าสมควรต้องใส่เครื่องช่วยฟังสามารถใส่เครื่องช่วยฟังเพื่อประโยชน์ในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในอนาคต           

แอปพลิเคชันสำหรับตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยเพื่อบ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อม เปิดให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ทางโทรศัพท์ทั้งในระบบ IOS และ Android ในชื่อว่า “Eartest by Eartone”

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า