รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 11/06/2018 นักวิชาการ: ผศ.ดร.นพดล กิตนะ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
กระแสต้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืช “พาราควอต (Paraquat)” หรือชื่อทางการค้าว่ากรัมม็อกโซน ปะทุขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่คณะกรรมการวัตถุมีพิษอันตราย ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน มีมติไม่ยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายซึ่งเป็นที่จับจ้องของภาคประชาสังคม 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลไฟเซตในสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากให้เหตุผลว่าข้อมูลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังไม่เพียงพอต่อมาเครือข่ายสนับสนุนการห้ามใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง โดยมีสมาชิกกว่า 600 องค์กรภาคประชาสังคม มีการเคลื่อนขบวนประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นแถลงการณ์ขอให้มีทบทวนมติและกระบวนการพิจารณาเพื่อยกเลิกการใช้สารเคมีพาราควอต (Paraquat) ดังกล่าว ในการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องออกมารับข้อเสนอ และแจ้งว่าจะใช้กรอบพิจารณาใหม่ภายใน 60 วัน
ต่อประเด็นดังกล่าว ผศ.ดร.นพดล กิตนะ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่างานวิจัยชิ้นหนึ่งของทางคณะมีการใช้พื้นที่จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ศึกษาการปนเปื้อนของสารฆ่าวัชพืชในสัตว์ พบว่ากว่าร้อยละ 90 ของสารเคมีที่มีการใช้คือสารฆ่าหญ้า กําจัดหญ้าถาวร ประกอบไปด้วยไกลโฟเซต อาตราซีน และพาราควอต ซึ่งประเด็นสำคัญที่ควรมีการพิจารณาคือ การปนเปื้อนและการสะสมในร่างกาย เพราะสารเหล่านี้มีความเป็นพิษสูง มักมีข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้งว่ามีคนกินยาฆ่าหญ้าซึ่งประกอบด้วยสารเคมีพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตดังกล่าวเพื่อฆ่าตัวตาย
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช “พาราควอต” (Paraquat) ทางการแพทย์รับรู้ว่ากินแล้วตาย แต่ที่ต้องให้ความสนใจในปัจจุบันคือกินแล้วไม่ตาย แต่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลทางการแพทย์ว่าการปนเปื้อนเหล่านี้ส่งผลระยะยาวต่อสมอง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสมองให้เกิดโรคต่างๆ เช่น
ขณะที่ตัวเลข MRL (Maximum Residue Limit) กำหนดไว้ว่าต้องมีการปนเปื้อนในสัตว์ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้น
“ตัวเลข MRL กำหนดโดย Codex Alimentarius Commission เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานองค์การอาหารการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กับองค์การอนามัยโลก (WHO) พูดถึงว่าสารเคมีทางการเกษตรเมื่อใช้เสร็จแล้วควรมี Good Agricultural Practice (GAP) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้แบบแผนที่ดีในการทำเกษตรกรรม” แต่ตัวเลขเกิด MRL ที่ตรวจพบสะท้อนว่าไม่มี GAP
ผศ.ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เป็นสารปนเปื้อนในดินที่มีการสลายตัวช้ามาก มีค่าครึ่งชีวิตมากกว่า 10 ปี หมายความว่าต้องใช้เวลากว่า 10 ปี สารเคมีที่อยู่ในดินจึงจะลดไปครึ่งหนึ่ง ยิ่งหากในอดีตมีการใช้สารเคมีต่อเนื่อง ก็จะกินเวลาการย่อยสลายนาน
ทั้งนี้ ผศ.ดร.นพดล บอกด้วยว่าจากการเก็บข้อมูลในพื้นที่พบว่าสิ่งมีชีวิต เช่น ปูนามีน้ำหนักลดลง มีการทำงานของเอนไซม์กำจัดพิษเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐานในส่วนกระดองท้องและก้ามปู ส่วนกบหนองมีดัชนีความสมบูรณ์ร่างกายลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะเกิดความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์เมื่อมีการบริโภคเป็นทอดๆ ต่อมา เช่น การนำปูนามาแปรรูปเป็นน้ำปู ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของคนในพื้นที่ก็อาจทำให้มนุษย์ได้รับการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช “พาราควอต” (Paraquat) ซึ่งผลกระทบของสารเคมีพาราควอต หรือที่รู้จักกันในชื่อการค้าว่า กรัมม็อกโซน มีอันตรายมากกว่าที่คิด
“สารเคมีทั้ง 3 ตัวที่มีการศึกษา ทั้งพาราควอต อาตราซีน ไกลโฟเซต ซึ่งใช้ในการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช กําจัดหญ้าถาวร มีผลกระทบไม่มากก็น้อย ไม่ได้มีตัวไหนปลอดภัยกว่าตัวไหน บางครั้งเราก็ต้องยอมรับว่าเราสามารถลดการใช้สารเคมีได้ อย่างพื้นที่การเกษตรในจังหวัดน่าน แม้จะเป็นพื้นที่รวมแต่ก็มีเกษตรกรรายหนึ่งที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ ใช้น้ำหมักใช้การปรับปรุงที่ดิน ผลผลิตมากกว่าคนอื่น 2 เท่าแต่รายได้เท่ากันเพราะต้องพักหน้าดิน ตากดินรอช่วงเก็บเกี่ยวถัดไป”
ผศ.ดร.นพดล ชี้ว่าตัวอย่างของเกษตรกรรายนี้แสดงว่าการใช้วิถีทางการเกษตรอินทรีย์ก็สามารถมีรายได้เหมือนรายอื่นๆ และยังมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี เสริมสร้างมูลค่าทางสุขภาพ ซึ่งเป็นมูลค่าที่คนมักจะไม่ค่อยพูดถึง
“เกษตรกรพื้นที่ตัวอย่างที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์เขาต้องลงเองหมด ต้องขวนขวายมากทีเดียว ถ้าใช้สารเคมีมันนอนอยู่บ้านเฉยๆ ภาครัฐเองก็ต้องเข้าไปช่วยบ้าง ถ้าเราวางเป้าหมายไว้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาหารต้องมีคุณภาพ ทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงอาหารปลอดภัย ภาครัฐก็ต้องมีส่วนช่วยมากกว่านี้ ทั้งในแง่การรณรงค์ให้เห็นว่าวิถีเกษตรอินทรีย์เป็นทางเลือกที่ดี และการสนับสนุนในแง่อื่นๆ” ผศ.ดร.นพดล ทิ้งท้าย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้