รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 18/06/2018 นักวิชาการ: ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ข่าวโรงงานนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบผิดกฎหมาย หรือนำเข้าแบบไม่ได้รับอนุญาต กำลังเป็นประเด็นใหญ่ในสื่อต่างๆ นำไปสู่การเร่งตรวจสอบและปราบปรามโดยหน่วยงานรัฐ ล่าสุดมีการเปิดเผยว่าข้อมูลการนำเข้าขยะเล็กทรอนิกส์ในเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ปีนี้สูงถึง 5.2 หมื่นตัน ขณะที่ตัวเลขของปี 2560 ทั้งปีมีการนำเข้าเพียง 6.4 หมื่นตันเท่านั้น เกือบเท่าปีที่แล้วทั้งปี
สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งของปริมาณการนำเข้าที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเคยเป็นผู้นำเข้าหลักของขยะประเภทนี้ได้ประกาศยกเลิกการนำเข้า ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2561 ทำให้ขยะจากทั่วโลกหลั่งไหลมาที่ไทยแทน แต่จากกรณีที่มีโรงงานเถื่อนนำเข้าแบบผิดกฎหมาย คือภาพสะท้อนการขาดแคลนบุคลากรเจ้าหน้าที่รัฐที่จะมาตรวจสอบ
“ตรงๆ เลยคือผู้ประกอบการขาดการดูแลจากภาครัฐ บุคลากรของภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนกลางมีกำลังคนน้อยที่ผ่านมาลงแค่บางสถานที่ และวิธีการทำงานก็ทำแต่งานเอกสารว่ามีการสำแดงในรายการอย่างไร ใช้วิธีสุ่มตรวจ” คือ คำอธิบายของ ผศ.ดร.พิชญ รัชฎาวงศ์ จากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิชญชี้ว่า ผู้ประกอบการไทยมองเห็นว่าขยะ อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นสิ่งของที่สามารถสร้างมูลค่าได้การที่จีนประกาศไม่นำเข้าถือเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ขยะมากขึ้น แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาในไทยจะถูกนำไปสกัดเพื่อนำส่วนผสม เช่น ทอง แพลตินัม พาลาเดียม เป็นต้น เพื่อไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
แต่ในขณะเดียวกันขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกส่งมาไม่ได้มีเพียงขยะที่สามารถสกัดเป็นวัตถุดิบมีค่าได้ แต่ยังมีอุปกรณ์บางอย่างที่มีความเป็นพิษสูง มูลค่าต่ำ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทคอมโพสิท (composite) ซึ่งมีส่วนผสมของสารหลายชนิด เช่น พลาสติก อะลูมิเนียม เรซิ่น กระดาษ โลหะ ฯลฯ ซึ่งกำจัดยาก
“สารองค์ประกอบเยอะๆ พวกนี้กำจัดยาก ต้องค่อยๆ เผา แถมมีส่วนผสมที่มีของมีค่าน้อย วิธีกำจัดก็มีต้นทุนสูง ค่าจุกจิกเยอะ” อาจารย์พิชญกล่าว พร้อมเสริมว่า ด้วยเหตุที่มาตรการในการควบคุมขยะมีพิษสูงต้องอาศัยต้นทุนมาก และต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ประเทศจีนรวมถึงประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจึงเลือกที่จะไม่นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ในที่สุดเพราะเห็นว่าต้นทุนสูง
“ต้องเข้าใจว่ามันไม่เหมือนของสะอาด ของสะอาดทำแล้วก็เป็นของเสียไม่มาก แต่ของเสีย ยิ่งเอามาทำแล้วก็ยิ่งเป็นของเสียหนักกว่าเก่า มันทำให้ต้นทุนสูง”
ทั้งนี้ สารพิษอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีตั้งแต่ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนสุขภาพ อาทิ พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง เป็นสารก่อมะเร็ง ทำลายสมอง ส่วนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีตั้งแต่การปนเปื้อนในดิน น้ำ อากาศ จนถึงระดับชั้นบรรยากาศของโลก
อาจารย์พิชญกล่าวว่า ประเทศต้นทางที่ส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งเองก็ใช้วิธีการแกะแยกชิ้นส่วนที่นำไปสร้างมูลค่าได้แต่ทิ้งชิ้นส่วนขยะที่สร้างมูลค่าต่ำเพื่อส่งออกให้ประเทศไทย ซึ่งต้องมี สูตรจัดการเพื่อไม่ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบคนไทย
แต่จากปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ภาครัฐต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขในเมื่อจำนวนบุคลากรของภาครัฐมีไม่เพียงพอก็ควรใช้วิธีการเผยแพร่องค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ท้องถิ่น เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเบื้องต้น
“ผมเข้าใจว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเขาก็ทำงานเต็มที่แล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจว่าบุคลากรส่วนกลางมีน้อย ดังนั้นควรกระจายความรู้ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่งเป็นกลไกกำกับดูแลเบื้องต้น และก็ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ต้องการตรวจสอบที่ดีขึ้น เช่น การตรวจสอบการทำงานของโรงงานเพื่อสร้างความโปร่งใส”
อาจารย์พิชญชี้ว่ากระทรวงอาจเลือกใช้วิธีการว่าจ้างหน่วยงานเอกชนหรือภาคประชาชนที่ตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยเฉพาะการตรวจสอบโรงงานต่างๆ ที่นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศว่ามีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่ในระยะยาวก็ควรมีการวางแผนด้วยเช่นกันว่าธุรกิจจากขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้คุ้มค่าไหม
“ถึงเวลาแล้วหรือเปล่าที่ควรจะมาคุยว่าเราจะยังเปิดรับขยะแบบนี้อยู่ต่อไปไหม หรือว่าจะไม่รับนำเข้าแบบจีน ทำแต่ของในประเทศ ถ้ายังเปิดรับแบบนี้อยู่ก็ต้องทำแบบใหม่ รัฐต้องเก็บภาษีจากธุรกิจเหล่านี้ที่ได้เงินจากการแยกของมีค่าจากขยะ เพื่อนำมากำกับดูแลให้มากขึ้น แต่ก็เก็บแบบเดิมๆ ไม่ได้ อาจจะต้องมีระบบภาษีต่างหาก ถ้าบอกว่าภาษีเยอะต้นทุนสูง อุตสาหกรรมเองก็ต้องเปิด Balance Sheet แล้วให้หน่วยงานรัฐว่ามันใช่หรือไม่ใช่อย่างไร เรื่องนี้สังคมต้องรับรู้ด้วย มีหน่วยงานตรวจสอบ” ผศ.ดร.พิชญ ทิ้งประเด็นไว้ให้ขบคิด
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้