รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 2/07/2018 นักวิชาการ: ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาฯ
เหตุการณ์รถไฟฟ้าบีทีเอสทำงานขัดข้องจนกระทบต่อการเดินทางของมวลชนในเมืองหลวงกลายเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้ประชาชนต่างไม่พอใจกับมาตรฐานการทำงานของบีทีเอส ขณะที่สำนักข่าวหลายแห่งมีการเก็บสถิติในรอบปีนี้ พบว่าบีทีเอสขัดข้องรวมแล้วมากว่า 28 ครั้ง โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน ขัดข้องไปแล้ว กว่า 9 ครั้ง
ทั้งนี้ บีทีเอสได้ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุของการขัดข้องสืบเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนคลื่นวิทยุที่ใช้กับระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมขบวนรถไฟฟ้า เพื่อให้มีความเสถียรและเพื่อรองรับการให้บริการเส้นทางต่อขยายสีเขียว นอกจากนี้ยังมีสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสารจากภายนอกเข้ามารบกวนสัญญาณเดินรถ ทำให้มีความล่าช้ากว่าปกติ
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าคลื่นสัญญาณที่บีทีเอสระบุ คือคลื่นสัญญาณระหว่างขบวนรถและเสาสัญญาณที่ติดตั้งอยู่ข้างราง ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณระหว่างรถและรางเพื่อดูความเร็วและตำแหน่งรถ เนื่องจากบีทีเอสเน้นการขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ
“การใช้ระบบอัตโนมัติทำให้รถวิ่งได้หลายเที่ยวต่อวัน เพราะสัญญาณที่ส่งไปส่วนกลางจะคำนวณให้ว่ารถขบวนนี้ถึงไหน อีกคันต้องวิ่งด้วยเวลาเท่าใดจะได้พอดีกัน แต่พอ ขัดข้องขี้นมาก็ต้องใช้ระบบแมนวล ขับด้วยมือ คนขับก็ต้องขับให้มีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ทำให้ล่าช้า”
ทั้งนี้ คลื่นสัญญาณที่บีทีเอสเลือกใช้ คือสัญญาณคลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นที่มีขนาดความถี่ดังกล่าวเป็นคลื่นที่ไม่ต้องขออนุญาต ใครก็สามารถใช้ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้ในระบบคมนาคม โดยเฉพาะสัญญาณคลื่น wifi ที่มีความถี่ใกล้เคียงกัน ซึ่งการใช้คลื่นที่มีความถี่เดียวกันก็มีความเสี่ยงที่จะถูกรบกวนกันเป็นเรื่องปกติ
ดร.สุพจน์วิเคราะห์ว่าสาเหตุของปัญหารถไฟฟ้าบีทีเอสที่เพิ่งจะปรากฏในปัจจุบัน อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากทุกวันนี้ระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้ wifi แพร่หลายมากขึ้น จากในอดีต ส่วนอีกสาเหตุที่มีการพูดถึงกันคือการถูกรบกวนโดยคลื่นสัญญาณของดีแทค และทีโอที ซึ่งมีความถี่ 2300 เมกะเฮิรตซ์ ไม่น่าจะใช่สาเหตุ เพราะแม้จะ มีการปิดสัญญาณไปกว่าหลายแห่ง แต่รถไฟฟ้าก็ยังขัดข้อง
อาจารย์สุพจน์กล่าวว่า การรบกวนกันของคลื่นความถี่เดียวกันทำให้เกิดการลดสัญญาณของตัวเองลง คลื่นที่ถูกรบกวนหรือถูกแทรกจะมีสัญญาณขาด ไม่ต่อเนื่อง ทำให้รถไฟฟ้าถูกชะลอและหยุดลง และเมื่อเกิดปัญหากับขบวนหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อขบวนที่เหลือด้วย เพราะรถไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในตำแหน่งใด
การใช้คลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ในระบบรถไฟในต่างประเทศ ใช้เฉพาะในรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งเป็นที่อับสัญญาณ ไม่มีสัญญาณอื่นรบกวน และในรถไฟภายในสนามบินซึ่งเป็นพื้นที่ปิดที่สามารถควบคุมได้เท่านั้น และการใช้รถไฟฟ้าที่มีคลื่นความถี่ 2400 เมกะเฮิรตซ์ มาวิ่งในพื้นที่เปิด พื้นที่สาธารณะ ผ่านตึกอาคารต่างๆ ใจกลางเมืองที่มีการใช้ระบบ wifi กันมหาศาล จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้