รู้ลึกกับจุฬาฯ

มองสื่อไทยในเหตุการณ์ “ถ้ำหลวง”

เหตุการณ์ผู้ประสบภัย 13 ชีวิตติดอยู่ในถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เป็นข่าวใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก แม้จะเจอตัวผู้ประสบภัยแล้วตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม แต่ก็ยังต้องดำเนินการนำผู้ประสบภัยออกจากถ้ำต่อไป

ล่าสุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานเสวนา “วิเคราะห์ปรากฏการณ์ถ้ำหลวงจากหลายมิติ” เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชิญนักวิชาการหลากหลายสาขามาร่วมวิเคราะห์กับปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่เกิดขึ้น

ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในวิทยากรวิเคราะห์จากมุมมองของนักวิชาการด้านสื่อว่า ข่าวถ้ำหลวงมีลักษณะเป็นข่าวร้อน (Breaking News) มีความน่าติดตามทำให้ผู้รับสารต้องลุ้นระทึกตลอดเวลา เป็นข่าวที่มีองค์ประกอบครบ และเป็นข่าวที่ขายได้เพราะเป็นประเด็นที่ทั้งสังคมให้ความสนใจและมีพัฒนาการของเหตุการณ์ตลอดเวลา

จากการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลในแนววารสารศาสตร์แห่งข้อมูล (data journalism) พบว่าปรากฏการณ์ถ้ำหลวงตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม สร้างให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ด้วยข้อความและเว็บข่าวรวมทั้งสิ้น 559,810 ข้อความ มีการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมกับข่าว (Engagement) มากกว่า 165 ล้านครั้ง มีกระแสสูงที่สุดในวันที่ 2-3 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่เจอตัวผู้สูญหายในถ้ำ เมื่อนับจำนวนข่าวจากเว็บไซต์สำนักข่าวต่างๆ พบว่ามีการผลิตเนื้อหามากกว่า 7,921 เนื้อหา หรือ 609 ข่าวต่อวัน

อาจารย์พิจิตราชี้ว่าเมื่อนำข่าวรายชิ้นที่มียอดแชร์หรือมียอด Engagement สูงมาจัดอันดับ จะเห็นลักษณะภาพสะท้อนวัฒนธรรมและสังคมไทยซ่อนอยู่ ซึ่งจากการประมวลผลพบว่าข่าวที่มีความนิยมสูงมักจะมีลักษณะดังนี้

ข่าวความเสียสละหรือการแสวงหาฮีโร่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ข่าวสืบค้นหาแพะหรือผู้กระทำผิด

ข่าวไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องเหนือธรรมชาติ

ข่าวแสดงความมีน้ำใจของคนไทย

อาจารย์พิจิตรา กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อไทยนิยมรายงานข่าวเป็นการเฉพาะหน้า เช่น เกิดอะไรขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันสูงทั้งในโลกออนไลน์ สำนักข่าวต้องแข่งขันกับเพจต่างๆ ที่มีการผลิตและนำเนื้อหาเข้าสู่ ระบบโดยผู้ใช้ (User  generated content) แข่งขันกันด้วยความเร็ว ทำให้หลายต่อหลายครั้งเกิดข่าวเท็จหรือข่าวปลอม (fake news) ออกมาเผยแพร่

“สื่อต้องตั้งคำถามว่าจะเป็นแค่กระจกสะท้อนสังคมหรือจะเป็นตะเกียงส่องนำทางให้สังคม”  คือสิ่งที่อาจารย์พิจิตราเน้นย้ำกับบทบาทการทำงานของสื่อไทยพร้อมยกตัวอย่างสื่อญี่ปุ่น ซึ่งมีการรายงานข่าวถ้ำหลวงเช่นเดียวกัน และมีคนไทยหลายคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเพราะเป็นการรายงานข่าวแบบรอบด้านและเจาะลึก

สื่อญี่ปุ่นมีการใช้ภาพจำลองเหตุการณ์ ให้มุมมองรอบด้าน และมีการทดลองเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริง ยกตัวอย่างเช่น มีการนำน้ำผสมดินใส่ตู้ปลา เพื่อจำลองวิสัยทัศน์ของการดำน้ำในถ้ำหลวง การใช้โมเดลจำลองถ้ำ เปรียบเทียบกับกรณีเหมืองถล่มที่ประเทศชิลี

ขณะเดียวกันก็เน้นการรายงานเพื่อให้กำลังใจเน้นการขอบคุณ (Thank You) ความเข้มแข็งของผู้ประสบภัย (Strong) การทำงานเป็นทีมเวิร์ก (Team Work) และร่วมกันหาทางออกให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด (Solution) ซึ่งเป็นการรายงานข่าวให้สังคมเกิดความเข้าใจและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

“สื่อไทยชอบใช้เทคโนโลยี อินโฟกราฟิก ก็เป็นแนวทางหนึ่งให้ข่าวเข้าใจมากขึ้น แต่ไม่ใช่ทางเดียว ญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ใช้  อาจารย์มองว่าเทคโนโลยีแค่ปลายทาง แต่ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สำคัญกว่า เราอย่าไปหลงว่าใช้เทคโนโลยีแล้วถึงต้องทำอะไรเจ๋งๆ ได้”

ดังนั้น “เนื้อหา” จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งญี่ปุ่นมีต้นทุนทางวัฒนธรรมเป็นทุนเดิม ทั้งวัฒนธรรมการ์ตูน วัฒนธรรมการเล่าเรื่องด้วยภาพ และเป็นประเทศที่มีภัยพิบัติบ่อยครั้ง ทำให้สื่อต้องให้ความรู้คนเพื่อสร้างความปลอดภัย

ขณะที่ฝั่งสื่อไทยยังเน้นการเนื้อหาลักษณะ “ไทยมุง” ซึ่งอาจารย์พิจิตราชี้ว่าไม่ได้เป็นการสร้างความรู้คน ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ มิหนำซ้ำยังเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของแหล่งข่าว เพราะเน้นการรายงานเรื่องส่วนตัวของผู้ประสบภัย

“เหมือนว่าสื่อไทยทำตัวเป็นคนธรรมดาที่เอาข่าวอะไรมาทำก็ไม่รู้ ทำตัวเหมือนคนธรรมดาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไม่ต่างจากเพจในโซเชียล ทั้งๆ ที่สื่อควรมีชั้นเชิงที่ลึกซึ้งกว่าเพราะสื่อมีความเป็นมืออาชีพ มีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่ไปเอาข่าวในโซเชียลมาเล่นแล้วก็ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมเสียเอง”

อาจารย์พิจิตรายอมรับว่าสื่อมวลชนอาจมีข้อตัดพ้อว่าปัจจุบันสื่อไม่สามารถแข่งความเร็วกับโลกโซเชียลได้ ก็ควรแข่งกับความน่าเชื่อถือ และความสามารถการทำข่าวรอบด้านเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณชนมากกว่านี้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า