รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 23/07/2018 นักวิชาการ: วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อุปนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และกรรมการสภาจุฬาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ข่าวกลุ่มวิชาชีพครูจังหวัดมหาสารคาม รวมตัวกันประกาศ “ปฏิญญามหาสารคาม” มีเนื้อหาเรียกร้องรัฐบาลและธนาคารออมสินพักการชำระหนี้โครงการ ณาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป และจะขอให้ลูกหนี้ ช.พ.ค. ทั่วประเทศกว่า 450,000 คนร่วมกันยุติชำระหนี้ นำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์และออฟไลน์
กระแสวิพากษ์วิจารณ์มองว่าครูไม่ควรเบี้ยวหนี้และควรมีวินัยทางการเงิน เมื่อมีหนี้ก็ควรชำระ อย่างไรก็ดี หลังจากมีข่าวปฏิญญาดังกล่าว ธนาคารออมสินก็มีมาตรการออกหนังสือเวียนถึงกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสำนักงานให้ดำเนินการเร่งรัดในการฟ้องคดีลูกหนี้สินเชื่อครูที่ไม่เข้าร่วมมาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ และย้ำว่าโครงการ ช.พ.ค. มีดอกเบี้ยต่ำมากอยู่แล้ว
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อุปนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย และกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ อธิบายว่า ปัญหาหลักของหนี้ครูมีสาเหตุมาจากการไม่มีวินัยทางการเงิน ทำให้มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย แต่ครูก็ไม่ใช่อาชีพเดียวที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน
“อาชีพที่กู้เงินง่ายในประเทศไทยมีอยู่สองอาชีพ คือหมอกับครู ที่กู้ง่ายเพราะว่าทั้งสองอาชีพนี้มีความน่าเชื่อถือสูง เป็นถึงครูเขาไม่เบี้ยวหรอก คนเลยเอามาให้กู้เยอะ ทั้งในระบบ นอกระบบ แต่หมอเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงเลยมีปัญหาน้อยกว่า”
จากประสบการณ์ที่ได้เคยพูดคุยกับครู คุณวิวรรณพบว่า การกู้เงินถูกมองว่าเป็นรายรับอีกทางหนึ่งในสายตาครูไทย รวมถึงคนไทยทั่วๆ ไป ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นหนี้ที่ต้องชำระ ทำให้ผลที่ตามมาคือการกู้หนี้ยืมสินจนเกินตัว ไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
“ผู้มีรายได้น้อยหลายคนมองว่าหนี้ไม่ใช่หนี้ ทำให้พอมีหนี้มาแล้วไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระ ถ้าตามจริงจำนวนการผ่อนชำระหนี้แค่ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของรายรับ แต่หลายคนรายรับไม่ถึงก็เลยมีปัญหาตามๆ กัน”
ทั้งนี้ธนาคารออมสินมีการเปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยโครงการ ช.พ.ค. เพียงร้อยละ 5-6 ต่อปี ขณะที่สินเชื่อของบุคคลทั่วไปในระบบการเงินที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15-28 ต่อปี อีกทั้งมีเวลาผ่อนชำระนานถึง 30 ปี มีการคิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอกเช่นเดียวกับสินเชื่อเคหะที่มีเงินงวดผ่อนชำระต่ำ ทำให้กู้เงินสูงได้แล้วแต่ความจำเป็นของครูแต่ละบุคคล
“ออมสินเขาก็ผ่อนปรนค่อนข้างช่วยเยอะแล้ว เพราะหนี้ออมสินในโครงการ ช.พ.ค.คือการรวมหนี้ทั้งหมดของครูจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน เป็นหนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ หนี้ไม่มีหลักประกันเข้ามารวมกัน นอกระบบบางที่โหดมากนะ ดอกเบี้ยต่อวันร้อยละ 2”
คุณวิวรรณอธิบายว่าข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เพิ่งจะทราบคือ อาชีพครูเป็นอาชีพที่เงินเดือนไม่มากก็จริง แต่มีเงินส่วนอื่นๆ เช่น ค่าวิทยฐานะเข้ามาสมทบ ทำให้ปีหนึ่งมีเงินหลายหมื่น นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครูยังพบว่ายิ่งครูอายุงานมาก เงินเดือนสูง ก็ยิ่งมีปัญหาหนี้สูงตามมาด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ข้อมูลจากพระราชบัญญัติเงินเดือนเงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด ระบุว่าเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่ำสุดที่ 15,050 บาท ถ้าหากเป็นมีตำแหน่งครูผู้ช่วย ขั้นต่ำ และมีค่าวิทยฐานะขั้นต่ำ 3,500 บาทในฐานะครูชำนาญการ
“ข้อมูลที่ได้จาการลงไปคุยพบว่ายิ่งครูอายุเยอะก็ยิ่งมีปัญหาเยอะ ตำแหน่งสูงก็ยิ่งเป็นหนี้ ครูระดับผู้อำนวยการก็มีหนี้ สะท้อนว่ารายได้ไม่ใช่ปัญหาหลัก เรื่องของเรื่องคือการไม่มีวินัย ต้องกู้ยืมเงินมาซื้อของทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น มีกรณีครูรายหนึ่งบ้านอยู่ใกล้ๆ โรงเรียนแต่ยังต้องกู้เงินมาซื้อรถเก๋งมาประดับบารมี ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นเลยก็มี”
คุณวิวรรณอธิบายว่า ปัญหาเรื่องการเงินที่เกิดจากการไม่มีวินัย คือการขาดความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ของคนไทย ทำให้มีปัญหาเรื่องหนี้สินเงินทอง ใช้จ่ายเกินตัว นอกจากนี้ไม่มีการเรียนการสอนเรื่องความรู้ทางการเงินอย่างจริงจังในไทย ต้องอาศัยการสอนจากที่บ้านเพียงอย่างเดียว
“ดิฉันเคยเสนอกระทรวงศึกษาธิการไปแล้วว่าต้องผลักดันเรื่องการออมเงินให้มีในหลักสูตร ชั้นบังคับ ครูสอนนักเรียน นักเรียนก็ได้ทักษะ ครูเองก็ได้ทบทวนบทเรียน ตนเองก็มีความรู้ไปด้วย แต่กระทรวงก็อ้างว่าไม่มีเวลาให้เรียน อาจจะมีโรงเรียนใน กทม. บางแห่งเรียนบ้าง” คุณวิวรรณกล่าวพร้อมทิ้งท้ายว่า การมีวินัยทางการเงินที่จะแก้หนี้คือการประหยัด อดออม เก็บทรัพย์สินรายได้ ที่มีคือทางออกที่ดีที่สุด
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้